www.trueplookpanya.com

counter

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2002


โปรแกรม Microsoft Office เป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ทั้งในระบบปฎิบัติการ Windows หรือ Macintosh เนื่องจากโปรแกรมมีคุณสมบัติต่างๆ เพื่อข่วยเพิ่มความสะดวกต่อผู้ใช้ มาโคร(Macro) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของโปรแกรมขนาดเล็กที่ทำงานบนโปรแกรม Microsoft Office ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกง่ายดายแก่ผู้ใช้ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การค้นหาและแทนตัวอักษรในเอกสาร หรือ อาจจะทำงานแบบอัตโนมัติในการลบ , สำเนาระหว่างเครือข่าย หรือการส่งข้อมูลผ่าน E-mail ดังนั้นผู้บุกรุกสามารถใช้ความสามารถของมาโคร หรือที่เรียกว่า ไวรัสมาโคร (Macro Virus) เพื่อสร้างความเสียหายกับข้อมูลของระบบได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกโปรแกรมใน Microsoft Office มีระบบป้องกันการเรียกใช้งานมาโครของเอกสาร ระบบดังกล่าวคือ "macro security framework" ระบบจะทำหน้าที่ในการควบคุมและป้องกันการเรียกใช้งานมาโครอย่างอัตโนมัติ หากมีมาโครอยู่ในเอกสารโปรแกรมจะทำการเตือนผู้ใช้ทุกครั้งเมือมีการเรียกใช้งานเอกสารดังกล่าว ผู้ใช้จะเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะเรียกใช้มาโครหรือ ระงับใช้มาโคร แต่ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า "security setting" ทางทีมพบว่าทาง Microsoft ได้แจ้งเตือนเรื่องช่องโหว่ของโปรแกรม Excel และ PowerPoint [1] เป็นช่องโหว่ที่เกิดเนื่องจากการไม่ทำงานของระบบ macro security framework ของโปรแกรม Excel และ PowerPoint (ดูรายละเอียดของโปรแกรมที่มีช่องโหว่) ซึ่งส่งผลทำให้การเรียกใช้งานของมาโครทำได้โดยไม่ต้องผ่านระบบตรวจสอบความปลอดภัยการเรียกใช้โปรแกรมสร้างงานนำเสนอ มีขั้นตอนดังนี้
วิธีที่ 1

1. คลิกทีปุ่ม Start บนแถบงานของวินโดว์
2. ชี้ไปที่ Programs หรือ All Programs
3. เลือก Microsoft PowerPoint

1.เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปที่ปุ่ม Start แล้วคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย
2.เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปที่ปุ่ม
Program แล้วคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย

3.เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปที่ปุ่ม
Microsoft PowerPoint แล้วคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย






















ส่วนประกอบของหน้าต่างPowerPoint

71
6
1
2
3
10
8
9
5
4
TITLE BAR
แถบชื่อเรื่อง
MENU BAR
แถบเมนู
Layout/slide
แถบเค้าร่างภาพนิ่ง
ปุ่มเลือกมุมมอง
แถบสถานะ
Task pane
บานหน้าต่างงาน
TOOL BAR
แถบเครื่องมือ
ปุ่ม CLOSE
ปุ่ม MINIMIZE
ปุ่ม MAXIMIZE
พื้นที่ทำงานเราสามารถเพิ่มภาพ สร้างตาราง แผนผังและใส่ภาพเคลื่อนไหวลงไปในภาพนิ่งได้
7
4



















1. แถบชื่อเรื่อง (TITLE BAR)
แสดงชื่อไฟล์นำเสนอที่กำลังใช้งานอยู่ และแสดงชื่อโปรแกรม
2. แถบเมนู (MENU BAR)
เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งที่ถูกจัดไว้เป็นกลุ่มๆ เรียกว่าเมนูเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ โดยคลิกที่ชื่อเมนู หรือ กดปุ่ม Alt แล้วปล่อย แล้วกดปุ่มลูกศรเลื่อนลง
ในแถบเมนูจะมีเมนูที่ใช้งานดังนี้
- แฟ้ม เป็นรายการคำสั่งสร้างหรือเรียกแฟ้มออกมาใช้งาน การปิดไฟล์งานที่ละแฟ้ม การกำหนดกระดาษ การบันทึก การตั้งค่า และการพิมพ์ข้อความ การเข้า-ออกโปรแกรม เป็นต้น


- แก้ไข เป็นเมนูจัดการเกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูล การย้าย การคัดลอกข้อความหรือรูปภาพ การค้นหา

-มุมมอง เป็นเมนูเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมกับความต้องการ

- เมนูแทรก เป็นคำสั่งช่วยงานแทรกรูปภาพ แผนผัง ตาราง วันที่และเวลา เป็นต้น

- เมนูรูปแบบ เป็นรายการคำสั่งกำหนดรูปแบบตัวอักษร จัดตำแหน่งข้อความใช้ในการกำหนดพื้นหลัง เค้าโครงภาพนิ่ง

- เมนูเครื่องมือ ใช้ในการตรวจไวยากรณ์ที่ถูกต้อง และสามารถกำหนดให้แสดงเครื่องมือที่ต้องการใช้ได้เอง

- เมนูนำเสนอภาพนิ่ง เป็นส่วนกำหนดตั้งค่าการนำเสนอภาพนิ่ง การกำหนดลักษณะภาพเคลื่อนไหวให้กับภาพนิ่ง

- เมนูหน้าต่าง
เป็นรายการคำสั่งใช้จัดเรียงหน้าต่างให้แยกหน้าต่าง เป็นส่วน ๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสามารถเปิดหลายแฟ้มงานบนหน้าจอเดียวกัน

- เมนูวิธีใช้ เป็นรายการคำสั่งช่วยเหลือการใช้โปรแกรมคำศัพท์ที่ควรรู้ และคำอธิบายโปรแกรมใช้ในการขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม


3. แถบเค้าร่างภาพนิ่ง (Layout/slide) เป็นส่วนแสดงเค้าร่างของเนื้อความในภาพนิ่ง หรือแสดงภาพนิ่งขนาดย่อทั้งหมดของงานนำเสนอที่ใช้งาน
4. ปุ่มเลือกมุมมอง เป็นส่วนที่ใช้ในการเปลี่ยนมุมมองในการทำงานกับงานนำเสนอนั้น
5. แถบแสดงสถานะ (STATUS BAR)
ใช้ในการแสดงสถานะและการทำงานของโปรแกรม
6. บานหน้าต่างงาน เป็นส่วนแสดงคำสั่งหรือตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังกระทำอยู่
7. แถบเครื่องมือ เป็นส่วนแสดงคำสั่งของโปรแกรม ที่ใช้บ่อยโดยแสดงเป็นรูปภาพ แบ่งเป็น Standard Tool Bar และ Format Tool Bar


Standard Tool Bar
ใช้สำหรับทำงานพื้นฐาน เช่น การสร้างงานนำเสนอใหม่ การเปิดแฟ้มงานที่มีอยู่แล้ว การบันทึกงาน การพิมพ์งาน การตรวจสะกดไวยากรณ์ เป็นต้น



Format Tool Bar
ใช้สำหรับจัดรูปแบบและขนาดของตัวอักษร การจัดตำแหน่งข้อความ การเพิ่มหรือลดระยะย่อหน้า เป็นต้น

8. ปุ่ม MINIMIZE
เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับการย่อหน้าต่างของโปรแกรม Microsoft PowerPoint ให้เล็กที่สุด
9. ปุ่ม MAXIMIZE
เป็นปุ่มใช้สำหรับขยายหน้าขนาดหน้าต่างของโปรแกรม Microsoft PowerPoint ให้ใหญ่ที่สุด
10. ปุ่ม CLOSE
เป็นส่วนที่ใช้ในการปิดโปรแกรม

การออกจากโปรแกรมสร้างงานนำเสนอ
การออกจากโปรแกรมสร้างงานนำเสนอสามารถทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีขั้นตอนดังนี้
วิธีที่ 1
1.เลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปคลิกที่ แฟ้ม > ปิด ตรงเมนูบาร์ หรือเลื่อนเมาส์พอยน์เตอร์ไปคลิกที่ปุ่ม แฟ้ม > จบการทำงาน
2.นำเมาส์ไปคลิกที่ ของหน้าต่างโปรแกรม

วิธีที่ 2
1. ออกจากโปรแกรมโดยใช้คีย์ลัด Alt+F4

โปรแกรม Microsoft Word 2002


เริ่มต้นกับ Microsoft Word 2002

หน้าจอของ Microsoft Word


1. Title bar (แถบหัวเรื่อง)ใช้แสดงชื่อโปรแกรมและชื่อแฟ้มเอกสารที่เปิดอยู่
2. Control Button (ปุ่มควบคุมหน้าต่าง) ใช้ควบคุมการปรับขนาด, ย้าย, ปิดหน้าต่างโปรแกรม
3. Menu bar (เมนูบาร์)เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งทุกอย่างที่ใช้ในโปรแกรม โดยแบ่งออกเป็นรายการแยกย่อยออกไป โดยจะมีสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันในบางคำสั่ง
4. Toolbar (แถบเครื่องมือ) เป็นคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ เป็นการดึงมาจากเมนูบาร์นั่นเอง แต่จะแสดงเป็นรูปภาพ เพื่อง่ายต่อการจดจำและสะดวกในการใช้งานด้วย โดยมี 2 เครื่องมือมาตรฐาน คือ 1. Standard Toolbar และ 2. Formatting Toolbar ตามลำดับ
5. Ruler bar (ไม้บรรทัด)ใช้วัดระยะเอกสาร จัดย่อหน้า ตั้งค่าขอบกระดาษ
6. Status bar (แถบสถานะ)แสดงตำแหน่งของหน้ากระดาษ ส่วนของเอกสาร (Section) จำนวนหน้าทั้งหมด จุดแทรกการพิมพ์ สถานะในการทำงาน เป็นต้น
7. Select object browser button (ปุ่มเลือกคำสั่ง)ใช้สำหรับเลือกกลุ่มคำสั่งที่ต้องการให้แสดงหรือแก้ไข
8. Task pane (บานหน้าต่างงาน)เป็นการดึงเอาคำสั่งมาไว้ทางด้านขวาของหน้าเอกสาร เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น คล้าย ๆ กับ Toolbar นั่นเอง

การเปลี่ยนภาษาในเมนู
1. การติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2002 จะต้องติดตั้งแบบสมบูรณ์ หรืออาจจะเก็บแผ่นโปรแกรมไว้ ทำการติดตั้งเพิ่มเติมต่อไป
2. ปิดโปรแกรมก่อนการติดตั้ง
3. คลิกปุ่ม Start>Program>Microsoft Office Tools
4. เลือก การตั้งภาษาของ Microsoft Office XP
5. เลือก ภาษาในเมนู เป็น ไทย หรือ อังกฤษ
6. เลือก ตัวช่วย เป็นไทย หรืออังกฤษ
7. ตอบ O.K. จากนั้น ลองเปิดโปรแกรม Office ขึ้นมาใหม่

การใช้ Toolbar (แถบเครื่องมือ)
แถบเครื่องมือเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากแถบเครื่องมือทำหน้าเช่นเดียวกับเมนูคำสั่ง ช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง
1. คลิกเมนู View>Toolbar
2. เลือกเครื่องมือที่ต้องการ
ทางลัดในการนำเครื่องมือมาใช้ ก็คือ
1. คลิกเมาส์ขวาบริเวณใด ๆ ก็ได้ บนแถบเครื่องมือ
2. เลือกเครื่องมือที่ต้องการ
*หากเครื่องมือใดถูกใช้อยู่ จะมีเครื่องหมาย ( อยู่หน้าเครื่องมือ หากต้องการยกเลิกเครื่องมือ ให้คลิกซ้ำที่เครื่องมือนั้น ๆ

ลักษณะการใช้เครื่องมือในแบบต่าง ๆ
1. ปุ่มเครื่องมือ Buttonเลื่อนตัวชี้ไปที่ปุ่มเครื่องมือที่ต้องการ วางรอไว้จนกว่าจะปรากฏชื่อของเครื่องมือนั้น (Tool tip)แล้วจึงคลิกที่ปุ่ม
2. ปุ่มเครื่องมือ Drop down listคลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยมชี้ลงที่อยู่ด้านขวาของปุ่มเครื่องมือ จะมีรายการแสดงลงมา ให้คลิกเลือกรายการที่ต้องการ
3. ปุ่มเครื่องมือ Drop down buttonคลิกที่สามเหลี่ยมชี้ลง แล้วเลือกสิ่งที่ต้องการ หากครั้งต่อไปต้องการเลือกแบบล่าสุดอีกครั้ง สามารถคลิกที่ปุ่มหลักได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องคลิกที่สามเหลี่ยมซ้ำ เว้นแต่จะเลือกแบบอื่น
4. ปุ่มเครื่องมือ Combo boxคลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยมทางด้านขวา คลิกเลือกรายการที่ต้องการ หากไม่มีรายการให้เลือก เราสามารถพิมพ์ค่าที่ต้องการลงไปในช่องได้เลย
5. การเปิดเครื่องมือที่ถูกซ่อนในแถบเครื่องมือคลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยมทางด้านขวา คลิกปุ่มเครื่องมือที่ต้องการ หากต้องการซ่อนหรือแสดงให้คลิกที่ Add/Remove
6. การแยกรายการแบบ Drop down button ออกมาจากปุ่มหลักคลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยม ชี้เมาส์ที่ตำแหน่งขอบบนของเครื่องมือ จะมีคำสั่งว่า Drag to make this menu float ให้กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากออกมาในตำแหน่งที่ต้องการ ถ้าต้องการปิด ให้กดปุ่ม Close

การสร้างและแก้ไขเอกสาร
การสร้างเอกสารใหม่
วิธีที่ 1
1. คลิกที่เมนู File>New…
2. จะปรากฏหน้าต่าง Task pane
3. ให้เลือก Blank document
วิธีที่ 2
ให้คลิกคำสั่ง New บน Toolbar จะปรากฏหน้ากระดาษเปล่าขึ้นมาทันที โดยไม่ต้องกำหนดค่าใด ๆ

การป้อนข้อความ
มารู้จักปุ่มในคีย์บอร์ดกันก่อนว่า มีปุ่มฟังก็ชันอะไรกันบ้าง
· ปุ่ม ~ จะใช้สลับคีย์บอร์ดสำหรับการพิมพ์ระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
· ในกรณีที่พิมพ์ข้อความที่ยาวไม่เกิน 1 บรรทัด เมื่อต้องการจบการพิมพ์ในบรรทัดแล้ว ให้กดปุ่ม Enter เพื่อจบการพิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่ได้เลย
· ในกรณีที่พิมพ์ข้อความมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด ซึ่งจะเรียกว่า “ย่อหน้า (Paragraph)” จะต้องพิมพ์ข้อความในย่อหน้านั้นให้หมดก่อน ซึ่งขณะที่พิมพ์อยู่นั้นเวิร์ดจะทำการ ย้าย, จัดช่องไฟ, ตัดคำ และปัดเป็นบรรทัดใหม่ให้เองอัตโนมัติ หลังจากที่พิมพ์หมดแล้ว ให้กด Enter เพื่อจบย่อหน้านั้นได้
· ถ้าต้องการเว้นบรรทัด ให้กด Enter ผ่านไปโดยไม่ต้องพิมพ์อะไรลงไป
· ถ้าต้องการให้ย่อหน้าเยื้องเข้าไปด้านขวา ครั้งละ 0.5 นิ้ว ให้กดปุ่ม Tab ก่อนพิมพ์ย่อหน้านั้น
· ถ้าต้องการลบข้อความหรือคำที่ผิด มี 2 ปุ่ม คือ Backspace ลบข้อความที่อยู่ทางซ้ายของ cursor ส่วน Delete ลบข้อความที่อยู่ทางขวาของ cursor
· การแทรกข้อความให้นำเมาส์ ไปคลิกที่ตำแหน่งที่ต้องการเพิ่ม จะมี 2 กรณี คือ พิมพ์แทรก เป็นการพิมพ์ข้อความตามปกติ จะทำให้ข้อความที่อยู่หลัง cursor เลื่อนออกไปทางขวา ส่วนการ [1]พิมพ์ทับ ให้กดปุ่ม Insert ที่คีย์บอร์ดก่อนพิมพ์ จะทำให้ข้อความที่อยู่ด้านหลังถูกทับไปด้วยข้อความใหม่

การบันทึกข้อมูล
1. คลิกเมนู File เลือกคำสั่ง Save As: กรณีที่ยังไม่เคยบันทึกมาก่อน
2. ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลตามต้องการ ตรงตำแหน่ง File name: จะได้นามสกุล *.doc
3. เลือกตำแหน่งเก็บข้อมูล ที่ Save in: เช่น 3.5 Floppy A:, My Document เป็นต้น
4. กดปุ่ม Save
5. หลังจากทำการบันทึกข้อมูลแล้ว หากยังมีการแก้ไขเอกสาร หรือป้อนข้อมูลเพิ่มเติม ให้บันทึกข้อมูลซ้ำโดยการกดปุ่ม save
6. จากนั้นให้ ปิดโปรแกรม โดยคลิกที่ปุ่ม Close

การเปิดแฟ้มเอกสาร
1. ให้คลิกที่เมนู File เลือก Open
2. เลือกตำแหน่งที่เก็บข้อมูล ที่ Look in:
3. เลือกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ
4. กดปุ่ม Open ก็สามารถทำงานได้อีกครั้ง
5. หากต้องการใช้คำสั่งทางลัด ให้คลิกที่ปุ่ม Open บน Toolbar ได้เช่นกัน

การเลือกข้อความในเอกสาร
ขั้นตอนที่สำคัญและใช้ในการทำงานบ่อย ๆ ก็คือ การเลือกข้อความ เพราะมักจะเป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่จะทำการจัดการกับเอกสาร
1. เลือกข้อความสั้น ๆคลิกเมาส์ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของข้อความ กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปจนสุดตำแหน่งของข้อความ แล้วปล่อยเมาส์
2. เลือกข้อความเกิน 1 บรรทัดคลิกเมาส์ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของข้อความ กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปจนสุดข้อความ แล้วปล่อยเมาส์
3. เลือกข้อความในแนวตั้งคลิกเมาส์ที่ตำแหน่งเริ่มต้น แล้วกดปุ่ม Alt ค้างไว้ ลากเมาส์ไปจนสุดข้อความ แล้วปล่อยปุ่ม Alt
4. เลือกทีละคำให้ดับเบิ้ลคลิกที่ข้อความ เหมาะสำหรับภาษาอังกฤษมากกว่า
5. เลือกทีละประโยคให้กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วดับเบิ้ลคลิกตรงประโยคที่ต้องการ
6. เลือกทีละบรรทัดให้นำเมาส์มาไว้ทางด้านซ้ายของบรรทัด ให้เป็นลูกศรชี้เข้า แล้วคลิกเมาส์ 1 ครั้ง ถ้าต้องการหลายบรรทัด ให้คลิกลากเมาส์ค้างไว้ลงมา
7. เลือกทีละย่อหน้านำเมาส์มาไว้ทางด้านซ้ายของบรรทัด ให้เป็นลูกศรชี้เข้า แล้วดับเบิ้ลคลิก
8. การเลือกทั้งเอกสารมีหลายวิธี ดังนี้- ให้คลิกที่เมนู Edit>Select All- กดปุ่ม Ctrl+A- กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วนำเมาส์มาวางทางซ้ายของหน้ากระดาษ คลิกเมาส์ 1 ครั้ง

การคัดลอกข้อความ
โดยใช้เมนูคำสั่ง
โดยใช้ทูลบาร์
1. เลือกข้อความที่ต้องการคัดลอก
2. คลิกที่คำสั่ง Edit>Copy หรือ Ctrl+C
3. วางจุดแทรกไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการ
4. คลิกที่คำสั่ง Edit>Paste หรือ กดปุ่ม Ctrl +V
1. เลือกข้อความที่ต้องการคัดลอก
2. คลิกที่ปุ่ม Copy
3. วางจุดแทรกไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการ
4. คลิกที่ปุ่ม Paste

การย้ายข้อความ
โดยใช้เมนูคำสั่ง
โดยใช้ทูลบาร์
1. เลือกข้อความที่ต้องการคัดลอก
2. คลิกที่คำสั่ง Edit>Cut หรือ Ctrl +X
3. วางจุดแทรกไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการ
4. คลิกที่คำสั่ง Edit>Paste หรือ กดปุ่ม Ctrl +V
1. เลือกข้อความที่ต้องการคัดลอก
2. คลิกที่ปุ่ม Cut
3. วางจุดแทรกไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการ
4. คลิกที่ปุ่ม Paste

การยกเลิกคำสั่งเมื่อเกิดข้อผิดพลาดในขณะทำงาน (Undo)
เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในขณะทำงาน เราสามารถยกเลิกคำสั่ง/การทำงาน ที่เกิดขึ้นไปแล้วได้ดังนี้
1. การยกเลิกครั้งล่าสุดคลิกที่เมนูคำสั่ง Edit>Undo หรือกดปุ่ม Undo 1 ครั้ง
2. การยกเลิกการทำงานย้อนหลังไปหลาย ๆ ครั้งคลิกที่ปุ่ม Undo ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับคืนสภาพเดิม หรือ
a. คลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยม
b. เลือกรายการแล้วคลิกเมาส์เพื่อยกเลิกการทำงาน

การใช้คำสั่งที่เคยถูกยกเลิกไปให้กลับคืนมา (Redo)
1. นำคำสั่งที่ถูก Undo ครั้งล่าสุดกลับมาโดยคลิกเมาส์ที่คำสั่ง Edit>Redo หรือกดปุ่ม Redo 1 ครั้ง
2. นำคำสั่งที่ถูก Undo กลับมาหลาย ๆ ครั้งคลิกที่ปุ่ม Redo ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับคืนสภาพเดิม หรือ
a. คลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยม
b. เลือกคำสั่งที่ต้องการนำกลับคืนมา ตั้งแต่รายการที่เลือกจนถึงปัจจุบันทั้งหมด

มุมมองในการจัดการเอกสาร (View)
การแสดงมุมมองในขณะที่จัดการกับเอกสาร จะเป็นส่วนที่อำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเอกสารที่สร้างขึ้นนั้น สามารถมีได้หลายรูปแบบ จะมีมุมมองที่ช่วยในการสร้างเอกสาร 4 มุมมอง โดยแต่ละมุมมองจะมีความสามารถในการช่วยงานต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการสร้างเอกสารในด้านใด

การเลือกมุมมอง
1. คลิกที่เมนู View เลือกมุมมองที่ต้องการ หรือ
2. คลิกที่ปุ่มมุมมอง ที่อยู่บนแถบ Status bar

ความหมายของมุมมองแต่ละแบบ
1. Normal View (มุมมองปกติ) เป็นการแสดงเอกสารบนจอภาพในรูปแบบปกติ เหมาะสำหรับเอกสารที่มีเฉพาะข้อความและเครื่องหมายต่าง ๆ เท่านั้น จะไม่มีรูปภาพหรือวัตถุใด ๆ
2. Web Layout View (มุมมองเค้าโครงเว็บ) เป็นมุมมองที่ใช้แสดงเอกสารหรือ เว็บเพจ มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์เปรียบเหมือนกับกำลังดูเว็บเพจในบราวเซอร์ เหมาะสำหรับการสร้างเว็บเพจ
3. Print Layout View (มุมมองเค้าโครงก่อนพิมพ์) เป็นมุมมองที่แสดงลักษณะของเอกสารให้เหมือนกับการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ แต่การแสดงผลอาจช้าลงไปบ้าง
4. Outline View (มุมมองเค้าร่าง) เป็นมุมมองที่แสดงโครงร่างของเอกสาร สามารถเลือกระดับของโครงร่างที่ต้องการดูได้ตามต้องการ มุมมองแบบนี้ไม่เหมาะกับเอกสารที่มีรูปภาพ

การจัดรูปแบบเอกสาร
เมื่อมีการสร้างเอกสารขึ้นใหม่ ควรทำการกำหนดรูปแบบหน้ากระดาษให้เหมาะสมกับงานที่จะพิมพ์ออกมา โดยปกติแล้วเวิร์ดจะสร้างเอกสารสำหรับพิมพ์ออกมาบนกระดาษเป็นแนวตั้ง โดยเว้นระยะขอบบน ขอบล่างอย่างละ 1 นิ้ว และขอบด้านซ้ายและขวาข้างละ 1.25 นิ้ว แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดกระดาษ ลักษณะการวางกระดาษและระยะขอบของกระดาษแต่ละข้าง เพื่อให้เหมาะกับความต้องการ

การตั้งค่าของหน้ากระดาษ
1. คลิกเมนู File>Page Setup…
2. เลือก แทป Margins
3. กำหนดระยะขอบกระดาษ ที่ Margins
4. เลือกแนวในการจัดกระดาษที่ Orientation
5. คลิกปุ่ม O.K.

การตั้งขนาดของกระดาษ
1. คลิกเมนู File>Page Setup…
2. คลิกที่แทป Paper
3. กำหนดขนาดของกระดาษที่ Paper Size หรือตั้งค่าเองที่ Width กับ Height
4. เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K.
การจัดรูปแบบตัวอักษร (Font)
การจัดรูปแบบ จะสามารถทำก่อนพิมพ์ข้อความ หรือหลังพิมพ์ข้อความก็ได้ หากทำก่อนพิมพ์ข้อความ ให้เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ตำแหน่งที่จะเริ่มพิมพ์ แล้วใช้คำสั่งในการจัดรูปแบบ หากทำหลังจากพิมพ์ข้อความ ให้เลือกช่วงข้อความที่ต้องการแล้วจึงใช้คำสั่งในการจัดรูปแบบ

การจัดรูปแบบตัวอักษร
1. เลือกข้อความที่ต้องการ
2. คลิกเมนู Format>Font… เลือกแทป Font- Complex scripts: สำหรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความภาษาไทย- Latin text: สำหรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความภาษาอังกฤษ- Font: แบบอักษร- Font style: ลักษณะแบบตัวอักษร- Size: ขนาดตัวอักษรAll text: กำหนดรูปแบบข้อความทั้งหมด ใช้สำหรับกำหนดสีและการขีดเส้นใต้- Font color: เลือกสีตัวอักษร- Underline style: เลือกรูปแบบเส้น- Underline color: เลือกสีเส้นEffect: กำหนดลักษณะพิเศษให้กับตัวอักษร- Strikethrough: ขีดเส้นทับข้อความ- Double strikethrough: ขีดเส้นคู่ทับข้อความ- Superscript: ตัวยก- Subscript: ตัวห้อย- Shadow: ใส่เงา- Outline: ตัวอักษรแบบเค้าร่าง โปร่งใส- Emboss: ทำตัวอักษรนูน- Engrave: ทำตัวอักษรบุ๋มลงไป- Small caps: แปลงตัวพิมพ์เล็กเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ขนาดตัวเล็ก- All caps: แปลงตัวอักษรให้เป็นพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด- Hidden: ซ่อนข้อความและสามารถสั่งให้แสดงชั่วคราวDefault: กำหนดให้ตัวอักษรที่เลือกไว้ ถูกกำหนดให้ใช้งานโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่สร้างเอกสารใหม่
3. กด O.K. หากต้องการยกเลิกให้คลิกที่ Cancel

การเลือกรูปแบบตัวอักษรจากเครื่องมือ Formatting Toolbar
1. เลือกข้อความที่ต้องการ
2. คลิกปุ่มเลือกรูปแบบตามต้องการ

การเปลี่ยนตัวพิมพ์
1. เลือกข้อความที่ต้องการ
2. คลิกที่เมนู Format>Change Case…- Sentence case ขึ้นต้นประโยคด้วยตัวพิมพ์ใหญ่- Lowercase ตัวพิมพ์เล็ก- UPPERCASE ตัวพิมพ์ใหญ่- Title Case ขึ้นต้นคำ ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่- tOGGLE cASE สลับตัวพิมพ์ใหญ่<->ตัวพิมพ์เล็ก
3. เลือกแบบตัวพิมพ์ที่ต้องการ แล้วกด O.K.

การคัดลอกรูปแบบของตัวอักษร
ถ้ามีรูปแบบของตัวอักษรหรือย่อหน้าที่ชอบไว้แล้ว เราสามารถคัดลอกรูปแบบนี้ไปไว้ที่ส่วนอื่นของเอกสารได้ทันที
1. เลือกข้อความที่เป็นตัวต้นแบบ
2. คลิกปุ่ม format painter จากเครื่องมือ
3. เลื่อนตัวชี้ ลากคลุมข้อความที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบ แล้วปล่อยเมาส์

การตกแต่งเอกสารให้มีความสวยงาม
การใส่เส้นกรอบให้กับเอกสาร
1. คลิกเลือกข้อความที่ต้องการตีกรอบ
2. คลิกเมนู Format>Border and shading
3. เลือกแทป Borders
4. เลือกรูปแบบการตีกรอบ โดยสังเกตที่ช่อง Preview
5. เลือกรูปแบบเส้น(Style), สี(Color), ความหน้าของเส้น(Width)
6. เลือกแนวของการตีกรอบที่ช่อง Preview โดยการกดที่ปุ่ม หรือกดในกรอบสีขาว ก็ได้
7. ที่ช่อง Apply to กำหนดให้มีผลเฉพาะ Text (ข้อความ) หรือ Paragraph (ทั้งย่อหน้า)
8. เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม O.K.

การใส่กรอบให้ขอบกระดาษ
1. คลิกเมนู Format>Border and shading
2. เลือกแทป Page Borders
3. เลือกรูปแบบการตีกรอบ โดยสังเกตที่ช่อง Preview
4. เลือกรูปแบบเส้น(Style), สี(Color), ความหน้าของเส้น(Width)
5. เลือกแนวของการตีกรอบที่ช่อง Preview โดยการกดที่ปุ่ม หรือกดในกรอบสีขาว ก็ได้
6. หากต้องการใส่ขอบเป็นรูปภาพ ให้เลือกที่ Art:
7. ที่ช่อง Apply to กำหนดดังนี้Whole document ตีกรอบทั้งเอกสารThis section เฉพาะส่วนนี้This section-first page only ส่วนนี้-หน้าแรกเท่านั้นThis section-all except first page ส่วนนี้-ยกเว้นหน้าแรก
8. เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K
การใส่สีพื้นและเงา
1. คลิกเลือกข้อความที่ต้องการตีกรอบ
2. คลิกเมนู Format>Border and shading
3. เลือกแทป Shading
4. ในช่อง Fill ให้เลือกสีพื้น
5. ในช่อง Patterns style ให้เลือกลายของสีพื้น
6. ในช่อง Color ให้เลือกสีของลาย
7. ในช่อง Apple กำหนดให้มีผลระหว่าง เฉพาะข้อความ หรือ ทั้งย่อหน้า
8. ตรวจดูภาพตัวอย่างในช่อง Preview เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K
การกำหนดระยะ TAB
การตั้ง Tab มีไว้สำหรับกำหนดตำแหน่งการพิมพ์ ให้ตรงกัน โดยใช้ไม้บรรทัดแนวนอนเป็นตัววัดระยะ ซึ่งปกติ จะมีระยะมาตรฐาน คือ 0.5 นิ้ว แต่เราสามารถกำหนดระยะ Tab เองได้เช่นกัน
วิธีตั้งระยะ Tab โดยเข้าเมนู
1. คลิกที่เมนู Format>Tabs…
2. กำหนดตำแหน่ง Tab ที่ Tab stop position มีหน่วยเป็น นิ้ว หรือ เซนติเมตร
3. กำหนด Alignment ตำแหน่งข้อความ- left ชิดซ้าย- right ชิดขวา- center กึ่งกลาง- decimal จุดทศนิยม- bar จัดแบบเส้นคั่น
4. ที่ Leader คือ เลือกเส้นนำหน้าตำแหน่ง Tab จะใช้เวลาทำหน้าสารบัญหรือรายการอาหาร ปกติให้เลือก None
5. กดปุ่ม Set-ถ้าต้องการตั้ง Tab ตำแหน่งอื่น ให้ทำซ้ำตามข้อ 2-5 จนครบ-หากต้องการลบ ให้เลือกตำแหน่ง Tab แล้วกดปุ่ม Clear-หากต้องการลบทั้งหมด ให้กดปุ่ม Clear all
6. กดปุ่ม O.K.
การตั้งระยะ Tab โดยใช้ไม้บรรทัด
1. เลือกรูปแบบ Tab ที่อยู่ด้านซ้ายของไม้บรรทัดด้านบน- Left ชิดซ้าย- Center กึ่งกลาง- Right ชิดขวา- Decimal จุดทศนิยม- Bar จัดแบบเส้นคั่น
2. คลิกที่บริเวณไม้บรรทัดแนวนอน ตรงระยะที่ต้องการ
3. เลื่อนตำแหน่งโดยการ คลิกที่ตำแหน่ง Tab ค้างไว้ แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
4. ถ้าจะลบตำแหน่ง Tab ให้คลิกแล้วลากลงมาที่นอกไม้บรรทัด
การใช้ Tab แบบมีเส้นนำหน้า
Tab Leader จะมีลักษณะเป็นเส้น ที่แสดงแทนช่องว่างระหว่างข้อความ ที่พิมพ์จนถึงระยะ Tab Leader ที่ตั้งไว้ ตัวอย่างเช่น สร้าง left tab ที่ระยะ 0.5 นิ้ว, Tab leader ที่ระยะ 4 นิ้ว
1. คลิกที่เมนู Format>Tabs
2. ตั้งระยะ Tab ตามปกติ
3. ที่ Leader ให้เลือกลักษณะเส้นนำหน้าตามต้องการ มี 3 แบบ ลองให้เลือกแบบที่ 2-4
4. เสร็จแล้วกดปุ่ม Set แล้วกด O.K.
การใส่เลขลำดับหัวข้อให้กับเอกสาร
การใส่เลขลำดับให้กับเอกสารเป็นการจัดเอกสารอีกวิธีหนึ่ง ที่ใช้ในการกำหนดลำดับหรือความสำคัญของหัวข้อในเอกสาร โดยเราสามารถใส่เลขลำดับในขณะที่กำลังพิมพ์หรือ ใส่ทีเดียวหลังจากพิมพ์เสร็จแล้วก็ได้
การใส่เลขลำดับขณะพิมพ์
1. ป้อนตัวเลข 1 ตามด้วยจุดทศนิยมแล้วเว้นวรรค จากนั้นให้พิมพ์ข้อความที่ต้องการต่อท้ายเลขลำดับ เสร็จแล้วให้กดปุ่ม Enter
2. สังเกตว่าในบรรทัดต่อไป จะใส่เลข 2 ให้อัตโนมัติ ให้พิมพ์ข้อความต่อไปได้ตามต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter
3. เมื่อพิมพ์หัวข้อสุดท้ายเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter 2 ครั้ง เลขลำดับก็จะหยุดใส่ทันที

การใส่เลขลำดับหลังจากพิมพ์เสร็จแล้ว
1. เลือกบรรทัดที่ต้องการทำเป็นหัวข้อ
2. คลิกที่ปุ่ม Numbering
3. แต่ถ้าต้องการรูปแบบของเลขลำดับที่กำหนดเอง ให้คลิกที่ เมนู Format>Bullets and numbering
4. เลือกแทป Numbered
5. คลิกเลือกรูปแบบที่ต้องการ หรือกดปุ่ม Customize กำหนดรายละเอียดที่ต้องการ
6. เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K
การใส่สัญลักษณ์นำหน้าหัวข้อ
1. พิมพ์เครื่องหมาย *, - แล้วเว้นวรรค จากนั้นให้พิมพ์ข้อความที่ต้องการต่อท้าย แล้วกดปุ่ม Enter
2. ให้พิมพ์ข้อความต่อไปได้ตามต้องการ เสร็จแล้วกด Enter
3. เมื่อพิมพ์หัวข้อสุดท้ายแล้ว ให้กดปุ่ม Enter 2 ครั้ง สัญลักษณ์ก็จะหยุดทันที
การใส่สัญลักษณ์แสดงหัวข้อหลังจากพิมพ์เสร็จแล้ว
1. เลือกบรรทัดที่ต้องการ
2. คลิกที่ปุ่ม Bullets หรือเข้าเมนู Format>Bullets and numbering
3. เลือกแทป Bulleted
4. เลือกรูปแบบที่ต้องการ หรือกดปุ่ม Customize กำหนดรูปแบบที่ต้องการ
5. กดปุ่ม O.K.

การจัดเอกสารแบบ Column (คอลัมน์)
เป็นการจัดหน้าเอกสารโดยการแบ่งออกเป็นแถว ๆ ซึ่งทำให้เอกสารดูมีลักษณะเด่นกว่าการพิมพ์ตามปกติ ส่วนใหญ่จะใช้ในสิ่งพิมพ์ทั่วไป เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โบว์ชัวร์ ข้อสอบในสถาบันต่าง ๆ ทุกระดับนิยมพิมพ์แบบ Column ซึ่งสามารถทำก่อนพิมพ์ หรือหลังพิมพ์ก็ได้
การทำคอลัมน์โดยใช้เครื่องมือบน Toolbar
1. คลุมข้อความที่ต้องการ
2. คลิกปุ่ม Column ที่เครื่องมือ เลือกจำนวนที่ต้องการ

การทำคอลัมน์โดยใช้คำสั่งเมนู
1. คลุมข้อความที่ต้องการ
2. คลิกเมนู Format>Columns
3. เลือกรูปแบบที่ต้องการ หรือกำหนดจำนวนคอลัมน์เองในช่อง number of columns
4. ส่วนของ Width and spacing กำหนดได้โดยการยกเลิก เครื่องหมาย / ออกก่อน แล้วจึงเปลี่ยนแปลงค่า
5. ส่วน Apply to ให้เลือกว่า เปลี่ยนทั้งหมด หรือ ตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นไป
6. เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K.

การยกเลิกการทำคอลัมน์
1. เลือกข้อความที่ต้องการยกเลิก
2. เข้าเมนู Format>Columns
3. เลือกรูปแบบเป็น 1 คอลัมน์
4. กดปุ่ม O.K.


การสร้างตัวอักษรขึ้นต้น ขนาดใหญ่
ตัวอักษรขึ้นต้นย่อหน้าที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า Drop Cap จะช่วยทำให้เอกสารมีความน่าสนใจ และสะดุดตาผู้อ่าน โดยส่วนใหญ่นิยมใช้ในเอกสารประเภท บทความ หรือมีการย่อหน้า เป็นต้น
การสร้างตัว Drop cap
1. คลุมตัวอักษรที่ต้องการ
2. คลิกเมนู Format>Drop cap
3. กำหนดในช่อง Position โดยเลือกที่ช่อง Dropped
4. กำหนดในส่วนของ Option โดยเลือก- แบบอักษร- ความสูงของตัวอักษร เท่าขนาดของบรรทัด- ระยะห่างระหว่างตัวอักษรที่ทำ Drop cap กับย่อหน้า
5. เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K.

ตารางและการจัดการ
ในงานเอกสาร บางครั้งอาจมีการนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบ ตารางก็เป็นรูปแบบอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้เอกสารดูมีความสำคัญ และน่าสนใจมากขึ้น เพราะจะช่วยในการจัดวางข้อมูลในแบบแถว และคอลัมน์ได้อย่างมีระเบียบและสวยงาม
Columnส่วนประกอบในตาราง
1. Column คือ การมองในแนวตั้ง
2. Row คือ การมองในแนวนอน
3.
Cell
RowCell คือ ช่องว่างที่ตัดกันระหว่าง Column กับ Roll
การสร้างตารางมี 2 วิธี คือ
1. สร้างแบบอัตโนมัติ- จาก เมนูบาร์- จาก Toolbar
2. สร้างแบบวาดเอง

การสร้างตารางแบบอัตโนมัติโดยใช้เมนู
1. คลิกเมนู Table>Insert>Table
2. กำหนดจำนวน Columns (คอลัมน์) และจำนวน Rows (บรรทัด) ที่ต้องการ
3. กดปุ่ม O.K.

การสร้างตารางแบบอัตโนมัติโดยใช้เครื่องมือ Toolbar
1. คลิกที่ปุ่ม Insert Table
2. ลากคลุมไปทางด้านล่างขวา จนได้จำนวนช่องที่ต้องการ
3. ดูที่ตัวเลขด้านล่าง จะบอกจำนวน บรรทัด X คอลัมน์

การสร้างตารางโดยการวาดเอง
1. เลือกเครื่องมือ Table and Borders บนแถบเครื่องมือ หรือคลิกเมนู Table>Draw table
2. ก่อนการวาด ต้องกำหนด- รูปแบบเส้น - ขนาดเส้น - สีเส้น
3. เลื่อนตัวชี้ ไปยังบริเวณที่ว่าง แล้วกดเมาส์ค้างไว้ ลากไปในแนวที่ต้องการ จะได้ขนาดของตาราง
4. จากนั้นให้วาดเส้นแบ่งคอลัมน์และบรรทัดตามต้องการ

5. เมื่อวาดเสร็จแล้วกดที่ ดินสอ อีกครั้งเป็นการยกเลิกการวาด
การเลือกพื้นที่ในตาราง
เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงเซลหรือข้อมูลในเซล ควรจะเลือกพื้นที่ของตารางก่อน ซึ่งพื้นที่ที่ถูกเลือกแล้วจะเป็นแถบที่เข้มให้เห็น โดยสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้
วิธีเลือก
วิธีทำ
เซลล์เดียว
เลื่อนตัวชี้ไปที่ขอบซ้ายภายในเซลล์ที่เลือก แล้วคลิก 1 ครั้ง เพื่อเลือกเซลล์
ทั้งบรรทัด
เลื่อนตัวชี้ไปที่นอกตาราง ให้อยู่หน้าแถวที่ต้องการ แล้วคลิก 1 ครั้ง หรือ Drag เมาส์ ขึ้น-ลงเพื่อเลือกหลาย ๆ บรรทัด
ทั้งแถวหรือทั้งคอลัมน์
เลื่อนตัวชี้ไปที่นอกตารางด้านบน เหนือคอลัมน์ที่ต้องการ คลิก 1 ครั้ง หรือ Drag เมาส์ ซ้าย-ขวาเพื่อเลือกหลายคอลัมน์
ทั้งตาราง
ใช้เมาส์เลือกทุกแถวทุกบรรทัดที่อยู่ในตาราง
การพิมพ์ข้อมูลในตาราง
1. เลือกเซลล์ที่ต้องการ แล้วป้อนความตามปกติ
2. กดปุ่ม Tab เลื่อนไปยังเซลล์ทางด้านขวา ถ้าอยู่เซลล์สุดท้ายแล้ว จะเป็นการเพิ่มบรรทัดให้กับตาราง หรือ
3. กดปุ่ม Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ ในช่องเซลล์เดิม

การปรับขนาดของตาราง
1. ปรับความกว้างของคอลัมน์
1.1. นำเมาส์มาวางที่เส้นแนวตั้ง ของช่องที่ต้องการขยาย
1.2. กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปทางขวา-ซ้าย
2. ปรับความสูงของบรรทัด
2.1. นำเมาส์มาวางที่เส้นแนวนอน ใต้บรรทัดที่ต้องการ
2.2. กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากขึ้น-ลง
3. ปรับขนาดเฉพาะช่องเซลล์
3.1. เลือกเซลล์ ที่ต้องการ โดยให้มีแถบสีดำในช่องเซลล์ด้วย
3.2. ปรับความกว้าง หรือความสูงก็ได้ ตามต้องการ

การแทรกช่องตาราง
1. ในแนวคอลัมน์
1.1. เลือกคอลัมน์ที่ต้องการแทรก ให้มีแถบดำ
1.2. คลิกเมาส์ขวาในแถบดำ เลือกคำสั่ง Insert columns
2. ในแนวบรรทัด
2.1. เลือกบรรทัดที่ต้องการแทรก ให้มีแถบดำ
2.2. คลิกเมาส์ขวาที่แถบดำ เลือกคำสั่ง Insert rows

การลบช่องตาราง
1. ในแนวคอลัมน์
1.1. เลือกคอลัมน์ให้มีแถบดำ ตามจำนวนที่ต้องการ
1.2. คลิกเมาส์ขวาในแถบดำ เลือกคำสั่ง Delete columns
2. ในแนวบรรทัด
2.1. เลือกบรรทัดให้มีแถบดำ ตามจำนวนที่ต้องการ
2.2. คลิกเมาส์ขวาในแถบดำ เลือกคำสั่ง Delete rows
3. ลบช่องเซลล์
3.1. เลือกเซลล์ที่ต้องการ ให้มีแถบดำ
3.2. คลิกเมาส์ขวา เลือกคำสั่ง Delete cell…
3.3. จะมีกรอบโต้ตอบ ให้เลือกวิธีการเลื่อนเซลล์มาแทนที่
3.3.1. Shift cells left = เลื่อนเซลล์ด้านขวามาทางซ้าย
3.3.2. Shift cells up = เลื่อนเซลล์ด้านล่างมาข้างบน
3.3.3. Delete entire row = เลื่อนขึ้นมาทั้งบรรทัด
3.3.4. Delete entire column = เลื่อนมาด้านซ้ายทั้งแถว
3.4. เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K.
การจัดรูปแบบตารางอัตโนมัติ
1. คลิกตารางที่ต้องการ
2. คลิกเมนู Table>Table AutoFormat
3. เลือกรูปแบบตารางในส่วนของ Formats พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ ในส่วนของ Apply special formats to ตามต้องการ
4. เสร็จแล้วคลิกที่ O.K.

การจัดตำแหน่งเซลล์
1. เลือกเซลล์ที่ต้องการ
2. คลิกเมาส์ขวาที่แถบดำ เลือกคำสั่ง Cell Alignment
3. เลือกลักษณะการจัดตำแหน่งที่ต้องการ
การจัดวางแนวทิศทางของข้อความในเซลล์
1. เลือกเซลล์ที่ต้องการ
2. คลิกเมาส์ขวาที่แถบดำ เลือกคำสั่ง Change text direction
3. จะมีให้เลือก 3 ลักษณะ ตามต้องการ
การเคลื่อนย้ายตาราง
1. เลื่อนเมาส์ มาบริเวณ มุมบนด้านซ้ายของตาราง
2. จะปรากฏเครื่องหมายในการเคลื่อนย้าย เป็น
3. คลิกเมาส์ค้างไว้ที่ตำแหน่ง แล้วลากไปยังตำแหน่งปลายทางที่ต้องการ

การกำหนดส่วนหัวของตาราง
1. พิมพ์ข้อความที่ต้องการให้เป็นส่วนหัว ลงในบรรทัดบนสุดของตาราง
2. เลือกบรรทัดบนทั้งบรรทัด
3. คลิกเมนู Table>Heading rows repeat
4. อาจทดลองใช้มุมมอง Print Preview เพื่อตรวจสอบก็ได้
การตกแต่งตาราง
1. เลือกช่องเซลล์ที่ต้องการ หรือเลือกทั้งตาราง
2. ใช้เครื่องมือ Table and borders บน Toolbar
3. เลือก Shading color เลือกสีพื้นที่ต้องการ
4. หรือใช้คำสั่ง Format>Border and shading ก็ได้

การรวมเซลล์เข้าด้วยกัน
1. เลือกกลุ่มเซลล์ที่ต้องการ
2. คลิกเมาส์ขวา เลือกคำสั่ง Merge cells

การแยกเซลล์ออกจากกัน
1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแยก
2. คลิกเมาส์ขวา เลือกคำสั่ง Split cells
3. กำหนดจำนวนคอลัมน์ และบรรทัดที่ต้องการเพิ่ม
4. คลิกปุ่ม O.K.

การแทรก Object (วัตถุ) ลงในเอกสาร
การแทรกวัตถุในเอกสารจัดเป็นสื่อที่ทำให้เอกสาร ดูเข้าใจง่าย มีรายละเอียดที่น่าสนใจมากขึ้น และสามารถนำวัตถุหลาย ๆ แบบมาประกอบในเอกสารได้มากมาย เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ภาพสำเร็จรูป ภาพจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลและเครื่องสแกนภาพ

การแทรกภาพ Clip Art
1. คลิกที่ตำแหน่งที่ต้องการแทรก
2. คลิกเมนู Insert>Picture>Clip Art…
3. จะปรากฏ เครื่องมือ Task Pane ให้คลิกที่ Search
4. เลือกรูปที่ต้องการ โดยการคลิกที่รูป 1 ครั้ง
การแทรกภาพ From file
1. คลิกที่ตำแหน่งที่ต้องการแทรก
2. คลิกเมนู Insert>Picture>from file…
3. เลือกโฟลเดอร์ที่มีรูปภาพเก็บไว้
4. เลือกรูปภาพ แล้วกดปุ่ม Insert หรือ ดับเบิ้ลคลิกที่รูปภาพ

การแทรก Word Art
1. คลิกที่ตำแหน่งที่ต้องการแทรก
2. คลิกเมนู Insert>Picture>Word Art…
3. พิมพ์ข้อความ แล้วกดปุ่ม O.K.
4. เลือกรูปแบบตัวอักษร แล้วกด O.K.

การแทรก AutoShape
AutoShape คือ รูปทรงสำเร็จรูปแบบต่าง ๆ ที่มีมาพร้อมกับชุด Microsoft Office ทุกรุ่น ซึ่งเราสามารถนำรูปทรงเหล่านั้นมาใช้ง่าย ๆ ดังนี้
1. คลิกที่เครื่องมือ Drawing>AutoShape
2. เลื่อนชี้หมวดที่ต้องการ
3. คลิกที่รูปทรงในหมวดที่ต้องการ
4. นำเมาส์มาวาดในเอกสาร โดยการกดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปจนได้รูปทรงที่ต้องการ

การแทรกสัญลักษณ์พิเศษ
บางครั้งเมื่อต้องการป้อนอักขระหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องหมายเงินตราต่างประเทศ แต่กลับไม่มีคีย์เหล่านั้นบนแป้นพิมพ์ การแทรกสัญลักษณ์พิเศษจึงเป็นอีกทางเลือกในการป้อนสัญลักษณ์เหล่านั้น

1. คลิกเมนู Insert>Symbol
4
3
2
2. เลือก font แบบอักษรที่ต้องการ มีอยู่ 5 ชื่อ คือ Symbol, Wedding, Wingding, Wingding 2, Wingding 3
3. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
4. กดปุ่ม Insert
5. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-4 ใหม่จนครบ
6. คลิกปุ่ม Close

การจัดหน้ากระดาษ
การใส่เลขหน้า
1. คลิกเมนู Insert>Page number
2. กำหนดตำแหน่งเลขหน้าที่ Position
3. กำหนดการวางที่ Alignment
4. ถ้าให้แสดงเลขหน้าที่หน้าแรก ให้คลิก ถูก ที่ Show number on first page
5. คลิกที่ ปุ่ม Format เลือกรูปแบบเลขหน้า
6. คลิกปุ่ม O.K.

การใส่หัวกระดาษและท้ายกระดาษ
1. ส่วนหัวกระดาษ- คลิกเมนู View>Header and Footer- พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงในส่วนหัวกระดาษ โดยใช้ Tab กำหนดตำแหน่งการพิมพ์- จัดรูปแบบตามต้องการ
2. ส่วนท้ายกระดาษ- พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงในส่วนท้ายกระดาษ โดยใช้ Tab กำหนดตำแหน่งการพิมพ์- จัดรูปแบบตามต้องการ- คลิก Close จบการทำงาน

จดหมายเวียน
เป็นจดหมายที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เหมือนกัน แตกต่างกันเฉพาะชื่อที่อยู่ของผู้รับ เพราะต้องส่งไปให้ผู้รับหลาย ๆ คน ดังนั้น เมื่อเราต้องการทำจดหมายเวียน จะต้องจัดเตรียมองค์ประกอบ 2 อย่างก็คือ เอกสารหลัก (Main document) เป็นส่วนของเนื้อความของจดหมายที่ผู้รับทุกคนจะได้รับ และ แหล่งข้อมูล (Data source) เป็นส่วนที่เก็บชื่อและที่อยู่ของผู้รับทุกคน

หลักในการสร้างจดหมายเวียน
การสร้างแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ตามลำดับ ดังนี้
1. เนื้อหาของจดหมาย
2. แหล่งข้อมูล คือ ข้อมูลของผู้รับ
3. การผนวกกันระหว่างเนื้อจดหมาย กับ ข้อมูลผู้รับ
ขั้นตอนการทำจดหมายเวียน
คลิกเมนู Tools>Letters and Mailings>Mail Merge Wizard… จะมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน
1. เลือกประเภทของเอกสารที่ Task Pane เป็น Letters จากนั้นคลิก Next
2. เลือกตำแหน่งการสร้างของจดหมาย โดยเลือก Use the current document จากนั้นคลิก Next
3. กรอกรายละเอียดของผู้รับจดหมาย โดยเลือกที่ Type a new list… จากนั้น ให้คลิกที่ Create…- จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้กรอกรายละเอียดเท่าที่จำเป็น ให้คลิกที่ปุ่ม Customize…- ลบหัวข้อที่ไม่ต้องการ โดยการ กดปุ่ม Delete ยืนยันการลบเลือก O.K.- บันทึกตารางข้อมูล- จัดเรียงข้อมูลให้เรียบร้อย แล้วคลิก O.K.
4. ขั้นนี้ให้ทำการพิมพ์เนื้อจดหมายลงไปในเอกสาร โดยทำการเว้นที่สำหรับการแทรกข้อมูลของผู้รับเอาไว้ จากนั้น คลิก Next
5. ทำการใส่รายละเอียดข้อมูลที่บันทึกไว้ ลงในเนื้อความจดหมาย โดยคลิกที่ตำแหน่งที่จะแทรก แล้วใช้เครื่องมือ Mail merge ใช้คำสั่ง Insert merge field เลือกหัวข้อที่ต้องการ โดยกดปุ่ม Insert จากนั้นให้คลิกปุ่ม Close ทำจนครบทุกตำแหน่ง จากนั้นให้คลิก Next
6. ขั้นตอนนี้เป็นการสั่งให้จดหมายและข้อมูลรวมกัน - การสั่งงานอื่น ๆ สามารถใช้เครื่องมือ Mail merge ได้ทั้งหมด

การพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
การดูตัวอย่างก่อนพิมพ์
เพื่อความมั่นใจว่าเอกสารจะถูกพิมพ์ออกมาอย่างถูกต้อง ดังนั้น ก่อนที่จะพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ควรตรวจสอบรายละเอียดและความถูกต้องของงานผ่านทางจอภาพ โดยการสั่งให้เวิร์ดแสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์ทุกครั้ง เมื่อแน่ใจแล้วจึงจะสั่งพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์
1. คลิกเมนู File>Print Preview
2. ตรวจสอบเอกสารโดยใช้ปุ่มเครื่องมือจากแถบเครื่องมือ ต่าง ๆ
3. เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Close เพื่อจบการทำงาน

การพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
หากเป็นเอกสารที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก สามารถสั่งพิมพ์ได้ทันที ให้คลิกที่ปุ่ม Print บน toolbar ได้เลย แต่ถ้าเป็นงานที่ซับซ้อน เราควรกำหนดในรูปแบบการพิมพ์ดังนี้
1. คลิกเมนู File>Print
2. เลือกเครื่องพิมพ์ที่ต้องการ
3. กำหนดหน้าที่จะพิมพ์ ที่ Page range
4. กำหนดชุดที่จะพิมพ์ ที่ Copies
5. เสร็จแล้วกดปุ่ม O.K.

[1] ถ้ากดปุ่ม Insert จะมีคำว่า OVR ขึ้นมาตรงแถบ Status bar

ผังงาน



ความหมายของผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท 1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย 2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์ ประโยชน์ของผังงาน 1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define) 2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing) 3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug) 4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read) 5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)
ตัวอย่างผังงานระบบไฟแดงการโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การโปรแกรมโครงสร้าง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ผมขอตอบอย่างสั้น ๆ ว่าทุกภาษาต้องมีหลักการ 3 อย่างนี้คือ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop) แม้ตำราหลาย ๆ เล่มจะบอกว่า decision แยกเป็น if กับ case หรือ loop นั้นยังแยกเป็น while และ until ซึ่งแตกต่างกัน แต่ผมก็ยังนับว่าการเขียนโปรแกรม แบบมีโครงสร้างนั้น มองให้ออกแค่ 3 อย่างก็พอแล้ว และหลายท่านอาจเถียงผมว่าบางภาษาไม่จำเป็นต้องใช้ Structure Programming แต่เท่าที่ผมศึกษามา ยังไม่มีภาษาใด เลิกใช้หลักการทั้ง 3 นี้อย่างสิ้นเชิง เช่น MS Access ที่หลายคนบอกว่าง่าย ซึ่งก็อาจจะง่ายจริง ถ้าจะศึกษาเพื่อสั่งให้ทำงานตาม wizard หรือตามที่เขาออกแบบมาให้ใช้ แต่ถ้าจะนำมาใช้งานจริง ตามความต้องการของผู้ใช้แล้ว ต้องใช้ประสบการณ์ในการเขียน Structure Programming เพื่อสร้าง Module สำหรับควบคุม Object ทั้งหมดให้ทำงานประสานกัน

ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง

Laudon & Laudon (2001) ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations) การจัดการ (management) และเทคโนโลยี (Technology)

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)

1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
[แก้] ชนิดของเครือข่าย
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
[แก้] อุปกรณ์เครือข่าย
เซอร์เวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซอร์เวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และ
มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย .
ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซอร์เวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล
เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โปรโตคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

การสื่อสารข้อมูล


1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น 2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น 3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม 4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้ 4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง 4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ 4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป 4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป 5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การนอนไม่หลับ


อาการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะหลับไม่พอทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น บางคนอาจจะหลับยากใช้เวลามากว่า 30นาทียังไม่หลับ บางคนตื่นบ่อยหลังจากตื่นแล้วหลับยาก บางคนตื่นเช้าเกินไป ทำให้ตื่นแล้วไม่สดชื่น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นชั่วคราวเมื่อภาวะกระตุ้นหายก็จะกลับเป็นปกติแต่ถ้าหากมีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการเรื้อรัง
การวินิจฉัย
แพทย์จะถามคำถาม 4คำถามได้แก่
ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร
นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่
แพทย์จะค้นหาว่าอาหารนอนไม่หลับนั้นเกิดจากโรค จากยา หรือจากจิตใจ
คนเราต้องการนอนวันละเท่าใด
ความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น
เราอาจจะทราบว่านอนไม่พอโดยดูจาก
เวลาทำงานคุณมีอาการง่วงหรือซึมตลอดวัน
อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
บางคนอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัว
ทั้งหมดเป็นการแสดงว่าคุณนอนไม่พอคุณต้องเพิ่มเวลานอนหรือเพิ่มคุณภาพของการนอน
การนอนหลับจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย
ร่างกายเราเหมือนเครื่องจักรทำงานตลอดเวลาการนอนเหมือนให้เครื่องจักรได้หยุดทำงาน สะสมพลังงานและขับของเสียออก การนอนจึงจำเป็นสำหรับร่างกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีการศึกษาว่าการนอนไม่พอจะมีอันตรายการประสานระหว่างมือและตาจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ผู้ที่นอนไม่พอหากดื่มสุราจะทำให้ความสามารถลดลงอ่อนเพลียมาก การดื่มกาแฟก็ไม่สามารถทำให้หายง่วง
มีการทดลองในหนูพบว่าหากนอนไม่พอหนูจะมีอายุสั้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สำหรับคนหากนอนไม่พอจะมีอาการง่วงและไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคำนวณด้อยลง หากยังนอนไม่พอจะมีอาการภาพหลอน อารมณ์จะแกว่ง การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของอุบัติต่างๆ เชื่อว่าเซลล์สมองหากไม่ได้นอนจะขาดพลังงานและมีของเสียคั่ง นอกจากนั้นการนอนหลับสนิทจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone)
จะปรึกษาแพทย์เมื่อไร
ถ้าหากอาการนอนไม่หลับเป็นมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางวัน ก่อนพบแพทย์ควรทำตารางสำรวจพฤติกรรมการนอนประมาณ 10 วันเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย ในการรักษาแพทย์จะแนะนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน ถ้าไม่ดีจึงจะให้ยานอนหลับ
การนอนหลับอย่างพอเพียงทั้งระยะเวลาและคุณภาพของการนอนหลับจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีเหมือนกับการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และการออกกำลังกาย
สาเหตุของการนอนไม่หลับ ตารางสำรวจสาเหตุการนอนไม่หลับ การนอนหลับในเด็ก ข้อแนะนำการนอนในวัยรุ่น คุณผู้หญิงกับการนอนหลับ ผู้สูงอายุกับการนอนไม่หลับ การนอนหลับกับผู้ที่ทำงานเป็นกะ การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา การรักษาด้วยยานอนหลับ การป้องกันอุบัติเหตุขณะขับรถ

การนอนกรน



เพศชาย ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเป็นเพศ ชาย ทั้งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาและ การศึกษาผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม พบว่าเพศชายมี โอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ด้วยอัตราส่วน 7:1 แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนพบว่าเพศ หญิงมีโอกาสเป็นมากขึ้น อาจเป็นไปได้ว่า ฮอร์โมนเพศจะมีผลต่อโรคนี้ได้ เชื่อว่า อิทธิพลของฮอร์โมนส่งผลที่โครงสร้าง บริเวณศีรษะและลำคอของเพศชาย เนื้อเยื่อ บริเวณคอหนาขึ้นทำให้มีช่องคอแคบกว่า ผู้หญิง ฮอร์โมนของเพศหญิงมีส่วนทำให้ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดิน หายใจ มีความตึงตัวที่ดี

อายุมากขึ้น เนื้อเยื่อต่างๆ จะขาดความตึงตัว ลิ้นไก่ยาวและเพดานอ่อนห้อย ต่ำลง กล้ามเนื้อต่างๆ หย่อนยาน รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจ บริเวณลำคอ ทำให้ลิ้นไก่และลิ้นตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย

ลักษณะโครงสร้างของกะโหลกศีรษะและกระดูกใบหน้าผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางเลื่อนไป ด้านหลัง ลักษณะคอยาว หน้าแบน ล้วนทำให้ทางเดินหายใจช่วงบนแคบลงเกิดการอุดตัน และทำ ให้เกิดการหยุดหายใจได้ โรคที่มีความผิดปกติบริเวณนี้ได้แก่ Down's syndrome , Prader Willi syndrome , Crouzon's syndrome เป็นต้น

กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่อ้วน แต่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัจจัยทางพันธุ กรรมน่าจะเป็นสาเหตุหลักของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคมากกว่าคนปกติ 1.5 เท่า

อ้วน พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย OSA มี Body Mass Index (BMI) > 28 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร หรือมีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักมาตรฐาน เมื่อลดน้ำหนักได้ 5-10 กิโลกรัมจะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้ ผู้ป่วยที่อ้วนมีโอกาสเกิดการหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า คนทั่วไป เนื่องจากไขมันนอกจากจะกระจาย อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ที่สะโพก หน้า ท้อง น่อง ต้นขา ยังพบว่ามีเนื้อเยื่อไขมันกระจายอยู่รอบๆทางเดินหายใจช่วงบนมากขึ้น ไขมันที่ พอกบริเวณคอจะทำให้เวลาที่ผู้ป่วยนอนลง เกิดน้ำหนักกดทับ ทำให้ช่องคอแคบลงได้ หน้าท้องที่ มีไขมันเกาะอยู่มากทำให้กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจุของปอดลดลง ล้วนเป็นปัจจัยเสริมที่ ทำให้เกิดการหยุดหายใจได้โดยง่ายขึ้น

แน่นจมูก จมูกเป็นต้นทางของทางเดินหายใจ ถ้ามีภาวะใดก็ตามที่ทำให้แน่นจมูก เช่น มีผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือเนื้องอกในจมูก ย่อมจะทำให้กรนลำบากขึ้น

ดื่มสุรา หรือการใช้ยาบางชนิด จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทาง เดินหายใจให้เปิด หมดแรงไป เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น นอนจากนี้จะกดการทำงาน ของสมอง ทำให้สมองตื่นขึ้นมาเมื่อมีภาวะการขาดออกซิเจนได้ช้า ซึ่งอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรง ต่อหัวใจและสมองได้

การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจแย่ลง ทำให้คอหอยอักเสบจากการ ระคายเคือง มีการหนาบวมของเนื้อเยื่อ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการอุดตันได้ง่าย และยัง ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

โรคต่อมไร้ท่อต่างๆ ได้แก่ Hypothyroidism, Acromegaly พบว่าทำให้เกิดทางเดินหายใจอุด ตันได้มากกว่าคนทั่วไป
เด็ก
ในเด็ก อาการนอนกรน มักมีสาเหตุมาจาก
ต่อมทอนซิล (ที่เห็นอยู่ข้างลิ้นไก่ในคอทั้งสองข้าง) มีขนาดโตมาก เพราะมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่ง อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังของบริเวณช่องคอ
ต่อมอะดินอยด์ (อยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก) มีขนาดโตมาก เพราะมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมี ส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังของบริเวณช่องจมูก รวมทั้งโพรงไซนัส
ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ เพราะเป็นเหตุให้แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก ต้องอ้าปาก ช่วย ยิ่งทำให้นอนกรนได้มากขึ้น

ไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะไซนัสอักเสบ เรื้อรัง จะมีน้ำมูกข้น และจมูกบวม ทำให้ หายใจทางจมูกไม่สะดวก จึงนอนกรนได้
ในบางราย มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้กระดูกใบหน้าเล็ก หรือมีเนื้อเยื่อใน ทางเดินหายใจใหญ่ เช่นมีลิ้นโต เป็น สาเหตุให้มีภาวะอุดตันของทางเดินหายใจ ได้ขณะนอนหลับ
function gopg(p)
{
document.forms['form1'].pageno.value=p;
document.forms['form1'].target="";
document.forms['form1'].submit();
}

การเริ่มต้นออกกำลังกาย
หลายท่านไม่เคยออกกำลังมาก่อนเมื่อเริ่มออกกำลังอาจจะทำให้เหนื่อยง่าย วิธีที่ดีที่สุดของการเริ่มต้นออกกำลังกาย คือให้เริ่มออกกำลังกายจากกิจวัตรประจำวัน เช่น
ใช้การเดินหรือขี่จักรยานเมื่อไปที่ไม่ไกล
หยุดใช้รถหนึ่งวันแล้วใช้การเดินไปทำงานสำหรับผู้ที่บ้านและที่ทำงานไม่ไกล
ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน
ขี่จักรยานรอบหมู่บ้าน
ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน
ทำกิจวัตรเหล่านี้ทุกวันเป็นเวลา 2-3 เดือนจึงเริ่มต้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เช่น
การเดินให้เร็วขึ้นสลับกับการเดินช้า
ขี่จักรยานนานขึ้น
ขึ้นบันไดหลายขั้น
ขุดดินทำสวนนานขึ้น
ว่ายน้ำ
เต้นแอร์โรบิค แต่ไม่ต้องนาน
เต้นรำ
เล่นกีฬา เช่น ปิงปอง แบดมินตัน เทนนิส

หลังจากที่เตรียมความพร้อมร่างกายแล้วเรามาเริ่มต้น ฟิตร่างกายกัน
หลังจากเตรียมความพร้อมแล้ว คุณได้ออกกำลังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้วหากคุณต้องการฟิตร่างกายก็สามารถทำได้โดย
โดยการวิ่งเร็วขึ้น นานขึ้น
ว่ายน้ำนานขึ้น
การฟิตร่างกาย คุณต้องติดตามความก้าวหน้าของการออกกำลังกายเช่น เวลาที่ใช้ในการออกกำลังเพิ่มขึ้น ระยะทางในการออกกำลังเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นได้ดี รายละเอียดของการออกกำลังกายคลิกที่นี่เทคนิคของการออกกำลังกายเป็นประจำ
จะต้องตระหนักว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตซึ่งจะขาดไม่ได้เหมือนการนอนหลับ หรือการรับประทานอาหาร
เลือกการออกกำลังกายที่ชอบที่สุด และสะดวกที่สุด
ครอบครัวอาจจะมีส่วนร่วมด้วยก็จะดี
ช่วงแรกๆของการออกกำลังกายไม่ควรจะหยุด ให้ออกจนเป็นนิสัย
บันทึกการออกกกำลังกายไว้
หาเป็นไปได้ควรจะมีกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกันเพราะกลุ่มจะช่วยกันประคับประคอง
ตั้งเป้าหมายการออกกำลังและการรับประทานทุกเดือนโดยอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป
ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากสมุดบันทึก
ให้รังวัลเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย(ห้ามการเลี้ยงอาหาร)
ที่สำคัญการออกกำลังแม้เพียงเล็กน้อยดีกว่าการไม่ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
ถ้าหากท่านได้เตรียมความพร้อมที่จะออกกำลังกายแล้วอยากจะฟิตร่างกายท่านสามารถทำได้ทันที แต่หากมีอาการหรือโรคต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฟิตร่างกาย
ถ้าท่านอายุมากกว่า 45ปี
หรือมีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่
หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยมาก
มีอาการหน้ามืด
จำเป็นต้องอุ่นร่างกายหรือไม่ Warm up
ก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายทุกครั้งเพื่อเตรียมความพร้อมของหัวใจ และหลังจากการออกกำลังควรจะอบอุ่นร่างกายอีกครั้ง รายละเอียดดูได้จากการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ความฟิตคืออะไร Physical fittness
ความฟิตไม่ได้หมายถึงว่าคุณสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าใด หรือยกน้ำหนักได้เท่าใด แต่ ความฟิตหมายถึงประสิทธิภาพของหัวใจ ปอดและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปถ้าหากออกกำลังกายได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีโดยออกหนักปานกลาง สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วันถือว่าได้ออกกำลังแบบ aerobic exercise รายละเอียดมีในออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ความฟิตของร่างกายต้องประกอบด้วยปัจจัย 5 อย่าง
Cardiorepiratory endurance หมายถึงความสามารถของหัวใจที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอในขณะที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบ areobic จะเป็นการฝึกให้หัวใจแข็งแรง
Muscular strength ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเราสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยการยกน้ำหนัก หรือวิ่งขึ้นบันได
Muscular enduranceความทนของกล้ามเนื้อหมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า
สัดส่วนของร่างกาย หมายถึงสัดส่วนของกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน การออกกกำลังจะทำให้มีปริมาณกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณไขมันจะลดลง อาจจะดูได้จากดัชนีมวลกาย
Flexibility ความยืดหยุดของกล้ามเนื้อ เอ็น เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหรือข้อได้รับอุบัติเหตจากการออกกำลังกาย อ่านและฟังที่นี่
ขณะป่วยควรออกกำลังกายหรือไม่
ขณะเจ็บป่วยไม่ควรจะออกกำลังกายเพราะจะทำให้โรคเป็นมากขึ้น ควรจะพักจนอาการดีขึ้น หากพักเกินสองสัปดาห์เวลาเริ่มออกกำลังกายควรจะเริ่มเบาๆก่อน และหากท่านเป็นโรคเรื้อรังควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

จริงหรือไม่ที่การออกกำลังกายโดยการเดินดีพอๆกับการวิ่ง
การเริ่มต้นออกกำลังควรใช้วิธีเดินเนื่องจากจะไม่เหนื่อยมาก ยังลดน้ำหนักได้และอาการปวดข้อไม่มาก ส่วนการวิ่งจะเป็นการออกกำลังที่คุณเตรียมร่างกายไวพร้อมแล้วเพราะการวิ่งจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้เหนื่อย และทำให้ปวดข้อ ดังนั้นการออกกำลังโดยการเดินเหมาะสำหรับคนอ้วน หรือผู้ที่เริ่มออกกำลังกายแต่ถ้าผู้ที่ต้องการความฟิตของร่างกายควรออกกำลังโดยการวิ่ง
คนท้องควรออกกำลังหรือไม่
คนท้องควรออกกำลังกายเป็นประจำแต่ออกกำลังแบบเบาๆโดยการเดิน ไม่ควรวิ่ง ไม่ควรยกของหนัก รายละเอียดอ่านได้จากการออกกำลังในคนท้อง
จะรู้ได้อย่างไรว่าออกกำลังกายมากเกินไป
ท่านสามารถสังเกตขณะออกกำลังกายว่ามากไปหรือไม่โดยสังเกตจากอาการดังต่อไปนี้
หัวใจเต้นเร็วมากจนรู้สึกเหนื่อย
หายใจเหนื่อยจนพูดไม่เป็นประโยค
เหนื่อยจนเป็นลม
ไม่มีอาการปวดข้อหลังออกกำลังกาย
หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการออกกำลังสองวันและเวลาออกกำลังให้ลดระดับการออกกำลังกาย
ประโยชน์ของการออกกำลังกายผลต่อโรคความดันโลหิตสูง(140/90)
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 35%
การออกกกำลังอย่างสท่ำเสมอจะลดทั้งความดัน systole และ diastole อย่างชัดเจน
คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเสี่ยงชีวิตจากโรคแทรกซ้อน น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง
การออกกำลังจะช่วยเพิ่มอายุ 1-1.5ปี ผลต่อโรคเส้นเลือดสมอง
อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงเมื่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
เมื่อขึ้นบันไดวันละ 20 ขั้นจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงร้อยละ 20
ผู้ที่ออกกกำลังกายโดยการเดินเร็วๆสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงจะมีอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 40 ผลต่อโรคเบาหวาน
ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 42
ผู้ออกกกำลังมากจนกระทั่งเหงื่อออก 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีอุบัติการของการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 22
ผลต่อหัวใจ
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเสียชีวิตเป็นสองเท่าของผู้ที่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น
การออกกำลังกายจะทำให้หัวใจสะสมพลังงานไว้ใช้เมื่อเวลาหัวใจต้องทำงานหนัก
เพิ่มความแข็งแรงในการบีบตัวของหัวใจ
ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ดี)
ลดระดับความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง
ผลต่อมะเร็ง
การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 46
ผลต่อคุณภาพชีวิต
การออกกำลังกาย 1500 กิโลแครอรีต่อสัปดาห์(ออกกำลังกายหนักปานกลาง)จะเพิ่มอายุ 1.57 ปีและลดอุบัติการการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยลง 67
สำหรับผู้สูงอายุทุก 1 ไมล์ที่เดินจะลดอุบัติการเสียชีวิตลงร้อยละ 19
การออกกกำลังอย่างสม่ำเสมอ(อายุ 45-84)จะลดการเสียชีวิตร้อยละ 18
การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ การออกกำลังในโรคเบาหวาน
ทบทวน 6 พย 2547

การเลียงปลาหมอสี



ี ไพโรจน์ ศิริมนตาภรณ์ เรียบเรียง
ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดจัดอยู่ในวงศ์ Cichlidae พวกเดียวกับปลานิล ปลาหมดเทศ ปลา ออสการ์ ปลาปอมปาดัวส์ เป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย อดทน มีพฤติกรรมที่หลากหลาย ถ้าผู้เลี้ยงไม่เข้าใจพฤติกรรมของปลาหมอสีก็จะทำให้ตายได้ง่าย ฉะนั้น ก่อนเลี้ยงก็ควรศึกษาหาอ่านจากตำราการเลี้ยงปลาหมอสีก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับปลาหมดสีทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่มากมาย ผู้เลี้ยงที่เพิ่งเริ่มต้นก็หาซื้อปลาที่มีราคาถูกหน่อยเลี้ยงหาประสบการณ์ก่อนแล้วค่อยไปซื้อชนิดราคาแพงเมื่อมีความสามารถมากขี้นแล้วหลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆเมื่อหลัก 7 ประการนี้คุณแก้ปัญหาได้แล้ว คราวนี้ก็เริ่มลงมือเลี้ยงกันได้ สมมุติว่าตู้ปลาจัดตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ตำราก็อ่านแล้วมีความมั่นใจ 100% ถุงใส่ปลาถูกแกะออกปลาฝูงแรกถูกปล่อยลงตู้แล้วทุกตัวพร้อมใจกันว่ายเข้าหาที่ซ่อน ไม่ต้องตกใจนั่นเป็นสัญญาณของปลา สักครู่ตัวที่กล้าหน่อยหรือตกใจน้อยหน่อยจะเริ่มว่ายน้ำสำรวจที่อยู่อาศัยใหม่ ตัวอื่นๆก็จะตามมาที่มีนิสัยรวมฝูงก็จะรวมกัน บางตัวก็ว่ายเที่ยวแล้วแต่ชนิดและนิสัยของแต่ละตัวไม่ต้องให้อาหารวันที่สองเมื่อปลาส่วนใหญ่สงบลงแล้วเริ่มให้อาหารเล็กน้อยเป็นอาหารมีชีวิตได้ก็ดีถ้าไม่มีอาหารเม็ดก็ได้ ให้น้อยๆดูจนกว่าปลาจะกินอาหารเม็ดหมด ทิ้งไว้สัก 2-3 ชั่วโมง ถ้ามีเศษอาหารเหลือก็ให้ตักออกทิ้งไป สัปดาห์แรกผ่านไปคุณจะรู้สึกว่าตัวเองกะประมาณอาหารที่ให้ปลาได้ดีขึ้น อาหารที่ให้ไม่ค่อยเหลือซึ่งจะดีมากน้ำจะใสไม่เสีย ถ้ามีปลาตายก็รีบตักออกไปจากตู้โดยเร็ว สังเกตุด้วยว่าตายสภาพอย่างไร ถ้าครีบขาดรุ่งริ่งแสดงว่ามันกัดกัน แยกตัวที่ก้าวร้าวออกไปใส่ไว้ในตู้พักปลา ถ้าภายในสภาพตัวยังสมบูรณ์ก็เกิดจากหลายสาเหตุ และตายติดต่อกันทุกวันก็ต้องเปิดตำราและถามผู้รู้แล้วละ สัปดาห์ที่สอง-สาม-สี่ ปลาก็จะเริ่มคุ้นกับคุณแล้วละมันจะเริ่มมาหาคุณไม่กลัวคุณ ยิ่งคุณอยู่ดูมันมากเท่าใดมันก็จะยิ่งคุ้นกับคุณมากขึ้นเท่านั้น การสื่อสารระหว่างคุณกับปลาก็จะยิ่งรู้เรื่องกันมากขึ้น แต่คุณต้องไม่ลืมคนที่อยู่รอบข้างคุณนะครับ นานเข้าก็จะมีเสียงบ่นเดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นอะไรมัน(หมายถึงตัวคุณนะครับ) กลับจากเรียน(หรือทำงาน)แล้วก็นั่งขลุกอยู่หน้าตู้ปลาตลอด ถ้าเป็นแบบนี้คุณควรจะห่างจากปลาของคุณไปสนใจคนอื่นบ้าง แล้วหาเวลาช่วงก่อนนอนหรือคนอื่นพักผ่อนกันแล้วค่อยมาดูแลปลาของคุณ โดยสังเกตุปลาทุกตัวทีละตัว คุณจะพบว่ามันโตขึ้นมาก แข็งแรง สุขภาพดี ซึ่งเป็นความปรารถนาของคุณพอทุกอย่างเงียบสงบ คุณจะได้ยินเสียงกระซิบว่า ดูแลสุขภาพด้วยฉันก็เป็นห่วงคุณเหมือนกัน ก็พอดีได้เวลาเข้านอนรุ่งเช้าคุณตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นเพื่อไปเรียนหรือทำงานต่อตามเรื่องของคุณยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย คลิกดูด้านล่างครับ




การเกิดโลก

มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดของโลก แต่ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับที่สุด เชื่อว่า โลกเกิดขึ้นพร้อมกับระบบสุริยะจักรวาล เมื่อราว ๆ 4,560 ล้านปีที่แล้ว ระบบสุริยะจักรวาล เกิดจากกลุ่มก๊าซและธุลีที่เรียกว่าเนบิวลา (nebula) ภายในเนบิวลานั้น ๆ กลุ่มสสารได้จับกลุ่มกันตรงกลาง จากแรงโน้มถ่วง เกิดเป็น protostar หรือดาวดวงแรก ความร้อนจากกระบวนการดังกล่าว ทำให้เนบิวลาเปลี่ยนสภาพเป็นแผ่นแบน ๆ ที่หมุนได้เหมือนแผ่นเสียง สสารจำนวนมากไปกระจุกตัวอยู่ตรงกลางของแผ่นแบน ๆ นั้น ต่อมาเกิดระเบิดอย่างรุนแรง ดวงอาทิตย์ถือกำเนิดขี้นตรงใจกลางนั้น พร้อมกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชั่น (nuclear fusion) ที่ปลดปล่อยพลังงานมหาศาล ก๊าซและอนุภาคของฝุ่นธุลีต่าง ๆ หมุนเป็นวงรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และเกิดเป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆ ส่วนที่ล้อมรอบอยู่ด้านนอก ของระบบสุริยะจักรวาล ประกอบไปด้วยกลุ่มของก้อนหินและก้อนน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนเป็นดาวหาง (comets) โดยที่ดาวหางจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในองศาที่ต่างกันไป ในระหว่างวงโคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีวงของแนวกลุ่มหิน ที่เรียกว่า กลุ่มดาวเคราะห์น้อย (asteroids) โคจรอยู่ ซึ่งบางครั้งชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อยหลุดจากวงโคจร พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ของโลกเหมือนลูกไฟตกลงมาจากท้องฟ้า ดังที่เรียกกันว่าดาวตกหรือผีพุ่งไต้ ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ใน ชั้นบรรยากาศที่ตกลงมาถึงเปลือกโลกจะเรียกว่า อุกกาบาต หรือ อุกาบาต (meteorites) เมื่อโลกเกิดขึ้นมาใหม่ ๆ นั้น โลกมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบันมาก แต่ด้วยชิ้นส่วนของดาวเคราะห์และดาวหางจำนวนมหาศาลที่ตกลงสู่โลก ในช่วง 2-3 ล้านปีแรก ทำให้โลกมีขนาดเท่ากับปัจจุบัน หลังจากนั้นประมาณ 100 ล้านปี โลกได้มีการแบ่งเป็นชั้น ๆ เนื่องจากแรงโน้มถ่วง โดยที่ส่วนที่หนักที่สุด (เหล็ก-นิเกิล) เป็นแกนกลาง (core) ส่วนที่เบากว่าเช่นเหล็ก แมกนีเซียม ซิลิเกต อลูมิเนียม และแคลเซียมเป็นผิวโลกในชั้นแมนเทิล (mantle) และเปลือกโลก (crust) ส่วนที่เบาที่สุดได้แก่พวกก๊าซต่าง ๆ ห่อหุ้มโลกไว้ เมื่อโลกค่อย ๆ เย็นตัวลง ไอน้ำเริ่มจับตัวกันเกิดเป็นเมฆ และฝนตกลงมาสู่พื้นโลก เกิดเป็นทะเล แม่น้ำ และ มหาสมุทรโลกเมื่อ 4,000 ล้านปีที่ผ่านมา มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเด่น มีก๊าซออกซิเจนเพียงเล็กน้อย สิ่งมีชีวิตในยุคแรกมีองค์ประกอบทางเคมีที่หลากหลาย แต่องค์ประกอบที่สำคัญคือ น้ำ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และ ไนโตรเจน ซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้มีการค้นพบ มีอายุประมาณ 3,500 ล้านปี เป็นซากของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เกาะติดกันเป็นสายเหมือนเส้นเชือกหรือลูกปัด โดยโครงสร้างมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตออกซิเจนให้กับโลกในอดีตกำเนิดโลกผลจากการศึกษาพบว่าโลกเป็นสมาชิกหนึ่งของระบบสุริยะ โดยมีดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางของระบบ สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับกำเนิดของระบบสุริยะนั้น มีหลายทฤษฎีที่กล่าวไว้เช่น-พ.ศ.2339 คานท์ และ ลาพลาส ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดระบบสุริยะไว้ โดยเขาเชื่อว่าดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์และสิ่งต่าง ๆ ในระบบสุริยะมีกำเนิดมาจาก กลุ่มแก๊สที่ร้อนจัด และหมุนอยู่แรงเหวี่ยงจากการหมุน ทำให้ เกิดเป็นลักษณะ วงแหวนหมุนกระจายออกจากจุดศูนย์กลาง ต่อมาบริเวณศูนย์กลางของวงแหวน ก็กลายเป็นดวงอาทิตย์ ส่วนกลุ่มแก๊สในแต่ละวงแหวนก็จะรวมตัวกันแล้วหดตัว กลายเป็นดาวเคราะห์ และสิ่งอื่น ๆ ในระบบสุริยะ ซึ่งรวมทั้งโลก ที่เราอาศัยอยู่นี้ด้วยแต่ ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริงเมื่อดาวเคราะห์ต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ดวงอาทิตย์ก็ควร จะหมุนเร็วขึ้นแต่กลับปรากฏว่า ดวงอาทิตย์นั้นหมุนช้ามาก ทฤษฎีนี้จึงต้องมีการปรับปรุง-พ.ศ 2493 เฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดระบบสุริยะขึ้นอีก โดยอาศัยทฤษฎ๊ของลาพลาส และหลักฐานจากการศึกษาปรากฏการณ์ท้องฟ้าเพิ่มเติม ซึ่งสรุปความได้ว่ามีดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน จากการรวมตัวของกลุ่มแก๊สและฝุ่นละออง ต่อมาดวงอาทิตย์ที่เกิดใหม่นี้เริ่มมีแสงสว่าง และยังคงมีกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองห้อมล้อมอยู่ โดยหมุนไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ กลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองเหล่านี้ถูกดึงดูดให้อัดตัวแน่นขึ้น และรวมตัวเป็นก้อนขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นก้อนวัตถุขนาดใหญ่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งก็คือดาวเคราะห์นั่นเองให้สังเกตข้อแตกต่างของทั้งสองทฤษฏีนี้ ซึ่งดูเผินๆจะเหมือนกัน แค่ความจริงต่างกัน -ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์ พ.ศ.2444 กล่าวว่า มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ ทำให้มวลบางส่วนของดาวฤกษ์และดวงอาทิตย์หลุดออกมากลายเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ รวมทั้งโลกและวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะทฤษฎีเจม ยีนส์ ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือเท่าไร***แต่ในปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ได้หลักฐานและข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆค่ะ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเก็บเงินไห้ได้ 1 แสนบาทต่อปี


เก็บเงินอย่างไรให้ได้ปีละ 100,000 บาท (Lisa) หากคุณเป็นพนักงานกินเงินเดือนและไม่มีรายได้อื่นที่ไหน การเก็บเงินให้ได้ปีละ 100,000 บาทค่อนข้างยากพอสมควร ซึ่งหากคุณไม่ทำในตอนนี้เวลาก็จะผ่านเลยไป ทำให้คุณไม่มีต้นทุนชีวิตที่จะไปต่อยอดธุรกิจอย่างอื่นได้เลย ในช่วงที่ธุรกิจตกสะเก็ดแบบนี้ เป็นหนทางที่เราจะใช้กระแสสังคมมากดดันตัวเองให้เก็บตังค์เอาไว้ เพื่อความมั่นคงในวันข้างหน้า ซึ่งก่อนอื่นคุณควรทำบัญชีค่าใช้จ่ายว่าสามารถเก็บเงินได้เดือนละเท่าไร แล้วนำวิธีสุดประหยัดเหล่านี้ไปปฏิบัติ เพราะอย่างน้อยๆ คุณต้องเก็บเงินให้ได้ 8,500 บาทต่อเดือนถึงจะได้ 100,000 บาทต่อปี ตัดค่าใช้จ่ายหลักออกไป ลองนับดูว่าคุณมีค่าใช้จ่ายหลักเป็นอะไรบ้าง เช่น ค่าหอพัก ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ ค่าผ่อนรถ เป็นต้น แจกแจงหนี้แล้วดูว่าสิ่งใดพอจะบรรเทาเบาบางลงได้บ้าง อย่างเช่น ถ้าคุณมีพี่น้องหรือเพื่อนสนิทแต่อยู่หอพักคนละที่กัน ลองมาอยู่ด้วยกันแล้วหารค่าห้องดูไหม สำหรับค่าโทรศัพท์เลือกโปรโมชั่นให้เหมาะสมกับตัวเอง และไม่ใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือแก้เหงา สุดท้ายเลือกใช้บริการรถสาธารณะดีกว่า เพราะราคาถูกไม่ต้องวนหาที่จอดรถ แถมรวดเร็วอีกต่างหาก รวมแล้วคุณประหยัดเงินไปได้กว่า 4,000 บาทต่อเดือน เลือกกินของคุณภาพ ราคาไม่แพง ถ้าคุณสามารถทำกับข้าวจากที่บ้านไปกินที่ออฟฟิศได้ หรือเลือกกินอาหารจานเดียวราคาไม่แพงแต่มีคุณภาพ ซึ่งดีกว่าฟาสต์ฟู้ดเป็นไหนๆ หากต้องการสังสรรค์กับเพื่อนก็ใช้วิธีให้บ้านใดบ้านหนึ่งเป็นเจ้าภาพ แล้วหารกันซื้อของเข้าไปทำอาหาร ราคาไม่แพงสะอาดและอิ่มกว่าด้วย เพราะถ้าคุณมัวแต่กินอาหารนอกบ้านประเภทฟาสต์ฟู้ดหรือนิยมสั่งแบบดีลิเวอรี่ นอกจากราคาแพงแล้วคุณก็ต้องเสียเงินค่าลดความอ้วน ค่าฟิตเนสอีกมากมาย ดูแลตัวเองง่ายๆ ดีกว่า ช่วยให้คุณประหยัดไปได้ประมาณ 2,000 ต่อเดือน จำกัดการซื้อเสื้อผ้าเครื่องสำอาง จากที่เคยตามเทรนด์มาตลอด เข้าสู่ยุคเรียบง่ายดีกว่า ก่อนอื่นถ้าคุณจะซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้ซื้อแบบเรียบและสามารถใช้ได้นานๆ เพราะเสื้อผ้าที่ตามกระแสมักจะใส่ได้ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น และลองค้นตู้เสื้อผ้าหาชิ้นที่ไม่เคยใส่หยิบมา Mix & Match ได้ชุดใหม่ตามใจคุณ หรือแลกเปลี่ยนเสื้อผ้ากับเพื่อนๆ บ้าง ส่วนเครื่องสำอางให้ซื้อตอนมีโปรโมชั่นหรือฝากคนที่ไปต่างประเทศซื้อหา เพราะจะลดได้มากกว่า 30% วิธีนี้ลดค่าใช้จ่ายได้ 1,500 บาทต่อเดือน ชวนเพื่อนเข้าแก๊งคุณนายประหยัด นั่งประหยัดอยู่คนเดียวเหงาแย่ ลองชวนเพื่อมาเข้าแกงค์ประหยัดด้วยกัน เพื่อเป็นกำลังใจและการแข่งขันไปด้วยในตัว คุณจะรู้สึกสนุกมากกว่านั่งอดออมอยู่คนเดียว นอกจากนั้นไม่ต้องเสียเวลาจับกลุ่มเอนเตอร์เทนด้วยการดูหนัง ร้องคาราโอเกะ โยนโบว์ลิ่งให้เสียเงินทอง ลองเช่าซีดีมาดูหรือออกกำลังกายตามสวนสาธารณะพร้อมกับเพื่อนๆ สนุกเหมือนกันแถมประหยัดเงินอีกด้วย

วิธีการเก็บเงินง่ายๆ



1. เริ่มเก็บเงินวันนี้อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลยแค 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้2. เงินออม = บิล รักษาวินัยเอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิลแค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์bแล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวันเช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้(แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋าเทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมดอย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ
5. ใช้ การ์ด แคชแบ็คใช้บัตรเครดิตแล้ได้เงินคืนบ้างก็ยังดี6. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋าจ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก7. จ่ายหนี้ให้หมดนี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต8. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ9. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ
10. เก็บเงินคืนจากหักภาษีพอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ11. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัยลองดูรายการแลกของรางวัลที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้12. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลาให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า)ให้ตัวเอง ดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ13. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบ้าง(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ) 14. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่15. เก็บเงินเพื่อครอบครัวคุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นเมื่อเก็บได้ถึงเป้า ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่งพาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ

ประโยชน์ของการดัดฟัน

มาดูกันดีกว่า สำหรับคนที่คิดว่าจะจัดฟัน อิอิ•>>ข้อ....ดี<<• 1.จัดรูปหน้า สวยยยยย ย ย ทันที (สวยในที่นี้คือ รูปหน้าดูสมส่วนจ้ะ)(เเล้วเเต่พฤติกรรมของคนจัดด้วยนะคะเพราะถ้าไม่รักษาดีๆก็ไม่มีผลจ้ะ)2.ฟันสวย เรียงกันเป็นระเบียบ 3. จัดเเล้วดูเเอ๊บเเบ๊ว น่ารัก 4.ดูมีจุดเด่นให้คนอื่นจำขึ้นมาอีก1จุด๕๕+ นั่นคือฟันของเราเอง5.เป็นเเฟชั่นที่ทำเเล้วดูไม่น่าเกลียด6.ช่วยดัดนิสัยการกิน (คือการลดความอ้วนทางอ้อมนี่เอง๕๕ เพราะเวลาจัดเเรกจะกินไม่สะดวก)7.เป็นเครื่องช่วยหุบปากไม่ให้พูดมากเกินความจำเป็น ถ้าจัดดเเล้วยังพูดมากจะมีแผลในปากเยอะ เเล้วจะ....เจ็บ8.พอถอดเครื่องมือเเล้วจะเป็นผลดีกับการ พูด บุคลิค หน้าตา การใช้ปากในรูปแบบต่างๆเพราะอะไรๆ มันจะเข้าที่จ้ะ•>>ข้อ....เสีย <<•1.จัดครั้งเเรกเเล้ว .... . . . เจ็บ2.ต้องจุกจิกจู้จี้ กับการทำความสะอาดเหล็ก3.ต้องไปเพิ่มขนาดลวดเเละเปลี่ยนสีทุกเดือนอาจจะเป็นความลำบากในการเดินทาง4.เพิ่มขนาดลวดเเล้วจะรู้สึกตึงๆปวดๆ บางคนก็อาจจะกินข้าว ไม่ได้ สำหรับเรา กินทุกอย่างหล่ะคะ5. อาหารติดเหล็กบ่อย เวลาคนอื่นมองจะ'' อี๋!!=[]=''6.ต้องพกกระจกตลอดดูว่ามีอะไรติดมั้ย (สำหรับผู้หญิง)7.ฟันจะผุบ่อยถ้าไม่ดูเเล 8.เสียเเวลาการจัดอย่างน้อย2 ปี (เเล้วเเต่กรณีเเต่ส่วนใหญ่จะจัด2ปี)9.ค่าจัดค่อนข้างจะเเพง ถ้าการจัดเเบบมีคุณภาพ10.ปากเจ่อ (บางคนอาจจะไม่เจ่ออะ) เจ่อมากเจ่อน้อยเเล้วเเต่รูปปากของเเต่ละคนด้วยน้า อย่าเครียด 11.ฟันจะน้อยกว่าคนอื่น บางคนโดนถอนไปเยอะเลย อิอิ ถึงเเม้ข้อเสียจะเยอะเเต่ถ้าหากเรามีความจำเป็นจะต้องจัด ก็จัดไปเถอะจ้ะ รับรองถอดเครื่องมือเเล้ว คุ้มค่ากับที่จัดไปเเน่ๆ ^ ^ ''

รับประทานผลไม้สูตรลดความอ้วน


รับประทานผลไม้เป็นสูตรลดความอ้วนSeptember 28th, 2009 by admin
รับประทานผลไม้เป็นสูตรลดความอ้วน1. รับประทานผลไม้ให้มากขึ้น รับประทานผลไม้สดวันละ 2-4 มื้อ จะรับประทานเป็นผลหรือคั้นน้ำก็ได้ จำพวกผลไม้ผลเล็กๆหรือองุ่น ให้ได้จำนวนปริมาณน้ำ 2 ช้อนโต๊ะใหญ่ต่อวัน2. เริ่มหัดเดินให้ไกลๆบ้าง อย่าเวลาคุณไปทำงาน ถ้าระยะทาง จากบ้านไปที่ทำงานไกลเกิน ก็ให้นั่งรถครึ่งเดินครึ่ง แต่ต้องเดินใน ที่ที่สบาย เพื่อการผ่อนคลาย มิฉะนั้นก็มีทางเลือกอย่างอื่น คือเดินสัก 20 นาที หลังมื้อเที่ยง ทำเช่นนี้สัก 3 วัน ใน 1 อาทิตย์ และทุกครั้งควรเดิน อย่าง คล่องแคล่วกระฉับกระเฉง3. นัดช่างผมกรรไกรทองสำหรับ การเปลี่ยนทรงผมใหม่ หรือจะเล็มผมที่ ยาวแล้วก็ได้ และตั้งใจไว้เลยว่าคุณต้องทำเช่นนี้ทุกๆ 3 เดือน4. เคลียร์ตู้กับข้าวของคุณซะใหม่ ให้ทิ้งสิ่งต่างๆที่เป็นส่วน ของการเพิ่ม ไขมัน ใหมีแผนการสำหรับการกินอาหารเพื่อสุขภาพเท่านั้น อย่างเช่น เนื้อ ปลาทะเลชิ้น บางๆ น้ำ หรือน้ำมันมะกอก ถ้าเป็นไปได้ ในตู้กับข้าว ตู้ใหม่ของ คุณจะต้องมีอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่มีปริมาณ น้ำตาลต่ำ หรือไร้น้ำตาลไปเลย

ข้าวซ้อมมือสูตรลดความอ้วน


ข้าวซ้อมมือสูตรลดความอ้วนSeptember 28th, 2009 by admin
ข้าวซ้อมมือสูตรลดความอ้วน1. เริ่มดูแลผิวพรรณ โดยการเข้าร้านเสริมสวยซะ โดยกรรมวิธีที่จะทำให้ ผิวพรรณ คุณ ดูนุ่มนวลดุจธรรมชาติ อย่างเช่นเอาพืชทะเล มาพันร่าง เพื่อ ทำให้ผอม พร้อมกับ ครีมที่มีกลิ่นหอมมานวดร่างคุณ หรือไม่ก็ขัด ผิวคุณ ด้วยพืชพรรณตามธรรมชาติ ผิวคุณก็จะดูผุดผ่องขึ้นมาทันตา2. อาทิตย์นี้ก็อย่าลืมให้เวลากับการเดิน อาจจะในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ตามสวนสาธารณะ หรือออกไปนอกเมืองไกลๆ แล้วใช้การเดินระยะยาว3. ตรวจดูการรับประทานคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้ง อย่างขนมปัง ธัญพืช หรือผลไม้อย่างมะเขือเทศ คุณควรที่จะควบคุมการรับประทานอาหาร อย่างตั้งใจวันละ 6-8 มื้อ ขนมปังหั่นแผ่นบางๆสักชิ้น จะปิ้งหรือไม่ก็ได้ พวกธัญพืชสัก 3 ช้อนโต๊ะ ข้าวสัก 1 ช้อนโต๊ะ เส้นก๋วยเตี๋ยว หรือเส้น พาสต้า พร้อมใส่ไข่สัก 2 ฟอง กำลังดี4. พยายามเลือก ข้าวซ้อมมือ ขนมปัง หรืออาหารจำพวกเส้นที่มีคุณภาพ ควรรับ ประทานเป็น อาหารบำรุง หรืออาหารเสริม เพื่อให้ร่างกาย มีพลังงานใช้ อย่างเต็มที่

บริหารหน้าท้องลดความอ้วน

บริหารหน้าท้องลดความอ้วนSeptember 28th, 2009 by admin
บริหารหน้าท้องลดความอ้วน1. ทำการบริหารหน้าท้องลดความอ้วน เพื่อให้กล้ามเนื้อกระชับ โดยใช้วิธีง่ายๆ แต่ทำเป็นประจำตลอดอาทิตย์– เริ่มด้วยการนอนราบไปบนแผ่นยางหนาสักหน่อย เพื่อกัน กระดูก ทิ่มพื้น ชันเข่าขึ้น ให้เท้าราบไปกับพื้น มือประสาน กันไว้ที่ท้ายทอย แล้วยกส่วนก้นขึ้นเนื้อพื้นพอประมาณ พร้อมทั้งกดเกร็งหน้าท้อง แล้วหายใจออกอย่างช้าๆ โดยหลังยัง ติดกับพื้นอยู่ หลังจากนั้นก็ค่อยๆวางลง แล้วหายใจเข้าเป็น การผ่อนคลาย– ยังอยู่ในท่าเดิม แต่มือประสารกันไว้ที่ท้ายทอยเพื่อ พยุงคอ เอาไว้ ยกลำตัวขึ้น กดหน้าท้อง โดยการเกร็ง แล้วหายใจ ออกช้าๆ วางตัวนอนดังเดิม พร้อมหายใจเข้า ท่านี้เขาเรียกว่า sit up– ในท่าเดียวกัน ยืดขาขวาให้ตรงกับลำตัว ในขณะที่ขาซ้ายยังชัน เข่าอยู่ แล้วงอเข่าขวามาที่หน้าอก พร้อมยกลำตัวขึ้นบิด ไปทาง ขวา โดยให้ข้อศอกซ้ายแตะเข่าขวา เกร็งหน้าท้องไว้ อย่าลืม หายใจ ออกด้วย ทำสัก 10-15 ครั้ง แล้วเปลี่ยนกลับไปทำอีกข้าง2. ตรวจดูการดื่มแอลกอฮอล์ของคุณว่าอย่ามีมากกว่า 15 หน่วยต่ออาทิตย์ เพื่อความปลอดภัยสำหรับลูกผู้หญิงอย่างเรา 1 หน่วยเท่ากับไวน์ 1 แก้ว หรือเบียร์ครึ่งเหยือก แค่นี้กำลังงามค่ะ ภายใน 1 อาทิตย์3. เลิกล้มความฝันสำหรับชุดว่ายน้ำหรือบิกินี่ คุณจะดูวิเศษที่สุดก็ต้อง หลังสองเดือนไปแล้ว เดือนที่ 2

ดื่มน้ำลดความอ้วน

ดื่มน้ำลดความอ้วนSeptember 28th, 2009 by admin
ดื่มน้ำลดความอ้วน1. เริ่มดื่มน้ำที่คั้นมาจากพืชชนิดที่มีใบ อย่างเช่นน้ำยี่หร่าผสมน้ำ เพื่อทำการกระตุ้นระบบการย่อยอาหารของคุณ จะดื่มหลังจากอาหารค่ำ ก็ได้ (ไม่ควรดื่มขณะตั้งครรภ์) ดื่มชาผลไม้ เพื่อทำให้การหมุนเวียน ของเลือดดีขึ้น การทำงานของไตก็จะดีขึ้นไปด้วย การดื่ม มิ้นต์ (peppermint) จะช่วยในเรื่องระบบการย่อยอาหารเช่นกัน2. อาทิตย์นี้เดินให้มากขึ้นสัก 20-30 นาที ตลอดอาทิตย์ เพิ่มระยะทาง และความเร็วในการเดินให้มากขึ้นด้วย ก้าวแต่ละก้าวควรให้นุ่มนวล และเยือกเย็น เรียกว่า “มีสมาธิในการเดิน”3. รับประทานผัก 3-5 มื้อต่อวัน เป็นผักรวมจานเล็กๆ ถ้าเป็นไปได้ควร เป็นผักสดวิธีทำสลัด (วิธีทำสลัดสไตล์คุณม้า)– หอมใหญ่ 1 หัว (ขาวหรือแดงก็ได้) ผัดขม ผักกาดหอม ผักชีฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง 1 กำ (ล้างและลอกเปลือกอย่างสะอาด)– นำผักมาล้าง หั่นหอมใหญ่เป็นแว่นๆ แล้วตกแต่งให้สวยงามด้วยหน่อไม้ ฝรั่งกับผักชีฝรั่ง น้ำสลัด อย่างง่ายๆ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับน้ำผึ้ง 1-2 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว พริกไทยป่น นิดหน่อย พริกหยวก บดละเอียด ผสมให้เข้ากัน แล้วราดลงบนผักสลัด ที่จัดเตรียม ไว้ รับรองอร่อยแน่

การนวดเพื่อลดความอ้วน

การนวดเพื่อลดความอ้วนSeptember 29th, 2009 by admin
การนวดเพื่อลดความอ้วน1. ต่อสู่เซลส์ผิวหนังด้วยการนวดตัวทุกวัน อันนี้เข้สถานบริการนวดตัว จะดีที่สุด อย่านวดด้วยตัวเองเลยค่ะ ลำบาก2. ยังคงออกกำลังกายอยู่นะคะ และอย่าลืมยกน้ำหนักด้วยเวทข้างประมาณ 1-2 กิโล สองวันต่ออาทิตย์ บริหารหน้าท้องยังคงต้องทำอยู่สม่ำเสมอ นอนราบชันเข่า มือถือที่ยกนำหนักเอาไว้ ยกลำตัวขึ้น พร้อมกับยก น้ำหนักไว้ด้านหน้าให้สุดแขน และเมื่อเอาตัววางนอนลง ให้ค่อยๆวาง แขนลงช้าๆเหนือศรีษะ ทำสัก 8-15 ครั้ง อาทิตย์ที่ 6 แล้ว คงต้องทำให้มัน หนักหน่อย คิดว่าคุณๆก็คงจะชินแล้วในการซิทอัพยืนตัวตรง ยื่นขาขวาไปข้างหน้าพร้อมงอเข่า ยกน้ำหนักขึ้นโดยการ งอข้อศอก แล้วย่อตัวลง เก็บขากลับมา ยืนไว้ในท่าแรก จากนั้นสลับมา ทำเหมือนเดิมกับขาข้างซ้ายบ้าง ท่านี้จะได้ทั้งกล้ามเนื้อขนด้านหน้า และขา ท่าลดต้นแขน ยืนตัวตรง มือทั้งสองข้างถือที่ยกน้ำหนักไว้ แล้วยก ขึ้นเหนือศรีษะ ค่อยๆวางลงไปด้านหลังศรีษะ โดยให้ข้อศอก ชิดใบหูทั้ง สองข้าง ยกขึ้น ยกลง กล้ามเนื้อบริเวณแขนด้านในจะกระชับ ไม่หย่อน ยาน3. อาจจะเต้นแอโรบิกหรืออกกำลังกายตามส่วนต่างๆของร่างกาย ตามวิดีโอ การ บริหารร่างกายก็ได้นะคะ เลือกอันที่ดีๆหน่อยหรือไม่เช่นนั้น ก็ไปเต้น ตาม สถานบริหารร่างกาย ดิฉันว่าจะสนุกกว่า4. เข้าเซาน่าหรือห้องอบไอน้ำ หลังจากนั้นก็นวดตัวซะด้วยเลย คุณๆลองทำ ตาม ตารางที่ดิฉันกำหนดให้ภายใน 6 อาทิตย์ดูสิคะ ว่าร่างกายคุณเริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงขนาดไหน แต่การทำตามตารางต้องซื่อสัตย์ ต่อตัวเอง นะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน การออกำลังกาย การดูแลผิวพรรณ รวมไปถึงทั้งตัว ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ตามที่ได้บอกไว้ข้างต้น รับรองว่า เห็นผลแน่

สูตรลดความอ้วนสูตรพระราชทานของสมเด็จพระเทพ

สูตรลดความอ้วนสูตรพระราชทานของสมเด็จพระเทพDecember 4th, 2009 by admin
สูตรลดความอ้วนสูตรพระราชทานของสมเด็จพระเทพลดน้ำหนัก 9 กิโลกรัม ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนอาหารต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้ว งดน้ำตาล น้ำมันหมู แอลกอฮอล ของทอดทุกชนิดวันที 1เช้า น้ำผลไม้คั้น หรือโยเกิร์ต 1 ถ้วยกลางวัน ไข่ต้ม 2 ฟองเย็น สลัดผักวันที 2เช้า น้ำผลไม้คั้น หรือโยเกิร์ต 1 ถ้วยกลางวัน ไข่ต้ม 2 ฟองเย็น สลัดผักวันที 3เช้า กาแฟไม่ใส่น้ำตาล หรือโยเกิร์ต 1 ถ้วยกลางวัน เกาเหลาลูกชั้น 1 ชาม(หมู, เนื้อ)เย็น สลัดผักวันที 4เช้า น้ำผลไม้คั้น หรือกาแฟดำและขนมปัง 1 แผ่นกลางวัน สลัดผัก และไก่ยาง 1 ชิ้นเย็น โยเกิร์ต 1 ถ้วยวันที 5เช้า น้ำผลไม้คั้น หรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1กลางวัน ส้มตำ และไก่ย่าง 1 ชิ้นเย็น สลัดผักวันที 6เช้า น้ำผลไม้คั้น หรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วยกลางวัน ปลานึ่ง หรือ ปลาเผา ไม่จำกัดเย็น สลัดผักวันที 7เช้า ข้าว 1 ทัพพี และเนื้อ 1 ชิ้น หรือไข่ต้ม 1ฟองกลางวัน เกาเหลาลูกชั้น 1 ชาม (หมู, เนื้อ)เย็น สับปะรด 1 ชิ้น

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การพักผ่อนให้พอ

การพักผ่อนและการนอน ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ร่างกาย


ร่างกายของคนเราและลึกลงไปถึงระดับเซลแล้วพบว่าจะมีการทำงานตลอดเวลา ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็หัวใจของเราเองซึ่งไม่ว่าเราจะหลับหรือตื่นหัวใจเราก็ยังคงเต้นอยู่ตลอดเวลา หรือสมองของคนเราบางท่านเข้าใจว่าในช่วงเวลาหลับแม้ขณธหลับเป็นตายก็ตาม เมื่อใช่เครื่องวัดคลื่นสมองก็พบว่าสมองยังคงมีการทำงานอยู่ เพียงแต่ลดการทำงานที่แสนจะสับสน ซับซ้อนหลายร้อยอย่างในเวลาเดียวกัน ไม่เชื่อลองนึกดูว่าเพียงแค่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า สมองก็เริ่มคิดเริ่มทบทวน เริ่มสั่งงาน ให้เราเดินไปห้องน้ำ อาบน้ำก่อนหรือแปรงฟันก่อน จะเลือกใส่เสื้อชุดใหม่ กางเกง รองเท้าคู่ไหนจึงจะเหมาะ อาหารเช้าอะไรดี ข่างวันนี้มีอะไรบ้าง.... เห็นหรือไม่แค่ช่วงเวลาไม่กี่นาที สมองเราต้องเริ่มคิดสั่งงานให้วุ่นวายไปหมดแล้ว สมองก็ทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์ ในวันหนึ่งๆ ไม่รู้ว่าต้องทำงานไปกี่แสนกี่ล้านคำสั่งเพื่อให้กิจกรรมของเราสำเร็จลุล่วงไปได้ ท่านที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่คงรู้สึกเป็นอย่างดีว่าบางครั้งขณะที่ท่านทำงานอยู่คอมพิวเตอร์ก็เกิดแฮงค์ขึ้นมาได้ฉันได้ สมองและร่างกายของเราก็เช่นเดียวกันหากมีการใช้งานอย่างหนัก หรืออย่างต่อเนื่องนานเข้าเราก็เดิดอาการน็อคขึ้นมาได้เช่นกัน หลายท่านก็คงเคยอยู่ในสภาพเช่นนี้บ้างไม่มากก็น้อย นักเรียนที่ต้องใช้ความพยายามอ่านหนังสือจนดึก ผู้ทำงานที่ต้องเร่งงานให้เสร็จทันกำหนด ผู้บริหารที่ต้องวางแผนเพื่อให้งานสำเร็จได้ ท่านจะพบว่าช่วงก่อนที่ท่านจะน็อคและช่วงหลังฟื้นจากการน็อคนั้นเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีเอาเสียเลยอาการที่ท่านง่วงจัด รู้สึกเพลีย หูอื้อ ตาลาย หาว น้ำหูน้ำตาไหล สมองมีนตื้อไปหมด เป็นลักษณะอาการที่ร่างกายพยายามส่งสัญญาณเตือนให้รู้ว่าแบตตารี่ใกล้หมดแล้ว การที่เราต้องฝืนหรือต้องสัมผัสกับสภาพเช่นนี้บ่อยๆ หรือเป็นเวลานาน จะมีผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงอาจเนื่องมาจากต้องทำงานเต็มที่ตลอดเวลาไปกับเราด้วย เปรียบได้เหมือนยามที่ต้องคอยระมัดระวังผู้บุกรุกอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดการล้าหรือลดประสิทธิภาพลง สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคมีทั้งชนิดที่แอบเข้ามาในร่างกายเราแล้วแฝงตัวหลบเจ้าระบบภูมิคุ้มกันอยู่อย่างเงืยบๆ (เนื่องจากยังมีจำนวนหรือกำลังสู่ระบบภูมิต้านทานที่ปกติไม่ได้ หรือสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่อยู่ในสภาพแวดล้อม รอบๆตัวเราที่คอยพยายามบุกแทรกเข้ามาตลอดเวลา ที่เดิมพวกนี้ทำอะไรเราไม่ได้เนื่องจากเมื่อเข้ามาในร่างกายก็จะถูกระบบภูมิคุ้มกันทำลายหมดก่อนที่จะมีโอกาสทำให้ก่อปัญหาได้ (ดูเพิ่มในเรื่องภูมิต้านทานชีวิต) แต่เมื่อร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงเนื่องจากการนอน การพักผ่อนไม่เพียงพอก้เป็นนาทีทองที่เจ้าสิ่งแปลกปลอมทั้งหลายพากันออกมาพาเหรดในตัวเรา ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนล้าของเราก้ไม่สามารถกำจัดได้ทันต่อการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อดรคร้าย และระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต้มที่ ปล่อยให้เซลผิดปกติหลุดลอยและขยายตัวต่อไปจนกลายเป็นเซลมะเร็งขึ้นมาได้ เป็นต้นคงจะเห็นแล้วว่าการอดนอน หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอก็สามารถทำให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพและก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาได้อย่างมากมายอย่างคาดไม่ถึง พวกเราส่วนใหญ่จะละเลยเรื่องนี้ไปเพียงคิดว่าการทานอาหารเสริม วิตามินก็เพียงพอแล้ว แต่การเสริมสุขภาพร่างกายเราอย่างง่ายๆโดยไม่ต้องหาซื้อจากไหนให้เป็นที่ยุ่งยากอย่างหนึ่งก็คือการหาเวลานอน พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละคน จัดให้เป็นเวลานอนอย่างจริงจัง สม่ำเสมอให้เป็นสุขนิสัย ท่านอาจจะแย้งว่าใครจะสามารถทำได้ตลอดเวลา ซึ่งก็ถูกต้องแต่เพียงต้องการให้ทราบว่าการนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายของแต่ละคนก็เป็นการเสริมสร้างร่างกายให้แข็.แรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้แล้ว และเมื่อเราพบช่วงเวลาที่ต้องอดนอนเราควรรู้จักการให้การชดเชยอย่างเพียงพอ หรือเมื่อเรามีปัญหาเรื่องการนอนเราจะได้ทราบถึงวิธีการจัดการให้การนอนของเรากลับมาเป็นปกติโดยเร็ว สิ่งที่ทุกท่านควรเข้าใจก็คือ เมื่อการนอน พักผ่อนร่างกายไม่เพียงพอ ก็เป็นโอกาสของสิ่งแปลกปลอมเชื้อดรคก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นได้และการเจ็บไข้หลายๆอย่างส่งผลให้การนอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอได้ก็จะย้อนกลับไปให้ภูมิต้านทานของเรายิ่งอ่อนแอลงไปอีก ทำให้การเป็นเจ็บของเราไม่หายเสียที หายยากขึ้น หรืออาจมีอาการอื่นแทรกซ้อนเพิ่มมาอีก

การพักผ่อนและการนอน



การหลับ คือ การหยุดพัก ของร่างกาย ชั่วครั้งชั่วคราว โดยไม่รู้สึกตัว และมักจะร่วมด้วย การนอนราบ การเงียบ หลับตา กรน หรืออากัป กิริยาใดๆ ที่มี ส่วนช่วย แสดงว่า "หลับแล้ว"การหลับ โดยทั่วไป มีลักษณะ แตกต่างกัน ในแต่ละคน และแม้แต่ ในคนเดียวกัน ก็ยัง แตกต่างกันไป ในแต่ละอายุ แต่ละอารมณ์ แต่ละสถานที่ ฯลฯบางคน ชอบนอนตั้งแต่ หัวค่ำ ไปตื่นตอน เช้าตรู่ บางคนชอบ นอนดึก แล้วตื่นสาย บางคน ทำงานกลางคืน ก็นอน ตอนกลางวัน ไปตื่นตอน ใกล้ค่ำ ตามสะดวก หากไม่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ของตนเอง และผู้อื่นละก็ ถือว่า การนอนหลับนั้น ปกติ ไม่มีอะไร ต้องแก้ไขการพิจารณาว่า การหลับของคนๆ หนึ่งผิดปกติหรือไม่ ต้องคำนึงถึง ความแตกต่าง ระหว่างคน เช่น อายุ ความเครียด การอดนอน และสิ่งแวดล้อมหลายต่อหลายครั้งที่ คนที่หลับอยู่ อาจไม่รู้ตัวว่า เขาหลับไม่ปกติ แต่ญาติ หรือคนที่นอนด้วย จะเป็นคนเล่าถึง อาการหลับไม่ปกติของเขาได้แทนในทางกลับกัน คนที่รู้สึกว่า ตนเองนอนไม่หลับ อาจบ่นว่า ตนนอนไม่หลับ คืนละ 3-4 ชั่วโมง แต่คนที่นอนด้วย อาจยืนยันได้ว่า คนๆ นั้นนอนหลับสนิท ตลอดคืน เพราะคนที่รู้สึกว่า ตนนอนไม่หลับ มักจะรู้สึกว่า ช่วงที่ นอนไม่หลับ นั้น แสนจะยาวนาน และเป็นทุกข์เป็นร้อนกับ การนอนไม่หลับของตน ทั้งๆ ที่เขาอาจนอนหลับ นานกว่าคนอื่นๆ ด้วยซ้ำไปส่วนคนที่ตื่นบ่อยๆ หรือหลับไม่สนิท โดยไม่รู้ตัวว่า ตนตื่นบ่อยๆ หรือ หลับไม่สนิท ก็อาจไม่บ่นว่า ตนนอนไม่หลับ คนกลุ่มนี้อาจจะซึม ง่วงเหงา หาวนอนทั้งวัน จนไม่สนใจกับ อาการผิดปกติของตนเอง แต่ญาติ หรือคนใกล้ชิด จะเป็น ผู้สังเกตเห็น และให้ความช่วยเหลือได้ความวิตกกังวล ทำให้โรคนอนไม่หลับ เลวร้ายลงเรื่อยๆ จึงควรรีบวินิจฉัย หาสาเหตุ และแก้ไข แล้วคุณอาจจะพบว่า ปัญหา การนอนไม่หลับของคุณ มันอาจจะ ลุกลามมาจาก ปัญหาอื่นๆ ในชีวตของคุณ เช่น ความเครียด จากการงาน ชีวิตคู่ ครอบครัว การเงิน หรืออาจจะมาจาก สาเหตุที่ ไม่สลักสำคัญ อะไรเลย เช่น ห้องนอน ร้อน/เย็นเกินไป ที่นอนไม่เหมาะ หมอนหนุนนุ่ม/แข็งเกินไป หรือสูงไปต่ำไป นอนไม่สบาย ซึ่งเป็นปัญหาแก้ง่าย แบบ "เส้นผมบังภูเขา" เท่านั้นเองคนที่หลับ ได้เต็มอิ่ม จะรู้สึกแจ่มใส สดชื่น โดยที่ ความต้องการ ของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน บางคน นอนเพียงวันละ 4 ชั่วโมง ก็เต็มอิ่ม แต่บางคน อาจต้อง นอน นาน 7 ชั่วโมง ถึงจะ กระปรี้กระเปร่าคนที่ นอนหลับไม่พอ หรือเกินพอ จะง่วงเหงา หาวนอน เกียจคร้าน สมองตื้อ อืดอาด ยืดยาด ทำงานทำการ ไม่ได้ดี เท่าที่ควร ต้องรีบหาสาเหตุ แล้วรีบแก้ไข... จะทนสมองตื้อ อยู่ทำไม